การศึกษาแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเรียนสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 217 คน จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 497 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแรงจูงใจในการเลือกเรียนสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 38 ข้อ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเลือกเรียนสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สามารถจัดลำดับแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้ดังนี้ ด้านสุขภาพอนามัย (4.33±0.78 คะแนน) ด้านผลประโยชน์ เศรษฐกิจและรายได้ (4.08±0.94 คะแนน) ด้านโอกาสที่ได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (4.05±0.89 คะแนน) ด้านเกียรติยศ (3.92±1.09 คะแนน) และด้านความรัก ความถนัดและความสนใจ (3.72±1.08 คะแนน) ตามลำดับ และจากงานวิจัยยังพบว่าช่องทางการรู้จักสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อันดับที่ 1 รู้จักสาขาผ่านทาง เพื่อน ๆ พี่น้อง อันดับที่ 2 คือการรู้จักผ่านทาง Social Media อันดับที่ 3 คือการใช้งานผ่าน Website on Google และอันดับ 4 คือรับฟังจากอาจารย์แนะแนวในโรงเรียนมัธยม ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถไปใช้ประโยชน์หรือประกอบการตัดสินใจในการพัฒนากิจกรรมหรือหลักสูตรรวมถึงช่องทางการประชาสัมพันธ์ได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Messineo, L., Allegra, M. and Seta, L. (2019). Self-reported motivation for choosing nursing studies: a self-determination theory perspective. BMC Med Educ, 19, 192. https://doi.org/10.1186/s12909-019-1568-0
Krejcie, RV. & Morgan, DW. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
ไพโรจน์ สายแก้ว. (2553). แรงจูงใจในการเลือกเรียนโรงเรียนกีฬา ของนักเรียนโรงเรียนกีฬาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Elijah, GR., & Eric, DKN. (2012). Motivational gender differences in sport and exercise participation among university sport science students. Journal of Physical Education and Sport, 12(2), 180-187.
กุลธิดา เหมาเพชร และคณะ. (2556). พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 (น. 3065-3080). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In Craven, RF. & Hirnle, CJ. (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott.
วสินี ไขว้พันธุ์ และสมปรารถ ขำเมือง. (2564). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), 1-15.
Boydell, T. (1985). Management self-development: A guide for managers, organizations and institution. Geneva : International Labour Office.
วิบูลย์ จุง. (2550). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=
Orem, DE. (1985). Nursing: concepts of practice. 3nd ed. New York: McGraw-hill.
ณัฐวุฒิ คูดำรงสวัสดิ์. (2563). การเลือกอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี ที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รุ่นที่ 12. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก
https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ismmm/ismmm.php?id=19
รตวรรณ ประวิรัตน์ และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการเลือกเรียนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4), 142-153.
Nilsson, KE. & Warrén Stomberg, MI. (2008). Nursing students motivation toward their studies – a survey study. BMC Nurs, 7, 6. https://doi.org/10.1186/1472-6955-7-6