ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ภูธเนศ แสงสุวรรณ
เจนจิรา แสนศรี
อุลัยวรรณ ไกรเพ็ชร
กิตติยา พุทธิชน
ธรรญญพร เพ็งสีแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบาดเจ็บของนักวิ่งเพื่อสุขภาพในอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยกับการบาดเจ็บโดยใช้สถิติ Chi-square test (χ2) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการบาดเจ็บ คิดเป็นร้อยละ 57 มีความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ระดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 54.39 ส่วนสาเหตุของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก คือ รองเท้าหลวมหรือคับเกินไป มีอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป และพื้นของสนามมีลักษณะแข็ง คิดเป็นร้อยละ 36.84, 24.56 และ 22.81 ตามลำดับ สาเหตุการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวนักวิ่งเพื่อสุขภาพ ด้านร่างกาย คือ ร่างกายไม่สมบูรณ์เพียงพอ มีประวัติการบาดเจ็บมาก่อน และขาดเทคนิคในการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 38.60, 26.32 และ 13.30 ตามลำดับ สาเหตุการบาดเจ็บที่เกิดจากตัวนักวิ่งเพื่อสุขภาพ ด้านจิตใจ คือ ขาดสมาธิ และความเครียด  คิดเป็นร้อยละ 43.86 และ 33.33 ตามลำดับ โดยมีลักษณะของการบาดเจ็บ ดังนี้ ข้อเคล็ด ข้อแพลง ตะคริว และผิวหนังถลอก คิดเป็นร้อยละ 28.07, 19.29, 19.29 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านต่าง ๆ กับการบาดเจ็บของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ สรุปได้ว่า เพศหญิงจะมีอาการบาดเจ็บในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมามากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 32 (χ2 = 5.307, P = 0.021) ปัจจัยการอบอุ่นร่างกาย (ก่อนวิ่ง) พบว่า การใช้เวลาอบอุ่นร่างกาย น้อยกว่า 10 นาที จะมีอาการบาดเจ็บมากกว่าการอบอุ่นร่างกายที่ใช้เวลามากกว่า 10 นาที คิดเป็นร้อยละ 25 (χ2 = 5.836, P = 0.016) ปัจจัยความถี่ของการอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่น พบว่า การอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นเป็นบางครั้งจะมีอาการบาดเจ็บมากกว่าการทำทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 20 (χ2 = 4.229, P = 0.040) และสาเหตุการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก พบว่า การสวมใส่รองเท้าหลวมหรือคับเกินไปจะมีอาการบาดเจ็บมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 21 (χ2 = 4.275, P = 0.042).

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา บานชื่น. (2530). คู่มือวิ่งเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

วิชัย อึงพินิจพงศ์. (2533). กีฬาเพื่อสุขภาพ. วารสารศูนย์แพทยศาสตร์, 16, 1-4.

รัตนา เฮงสวัสดิ์. (2546). การป้องกันอันตรายจากกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รามคำแหง.

สายใจ เพ็งที. (2554). การบาดเจ็บของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ralph, KR. Nicole, L. and James, GG. (1993). Injuries in recreational adult fitness activities. Am J Sports Med, 21, 461-7.

Van, MW. (1992). Running injuries; A review of epidemiological literature. Sports Med, 14, 320-35.

Callahan, RL. & Sheen, PR. (2005). Overview of running injuries of the lower extremity. Retrieved 1 May 2022, from https://www.uptodate.com/contents/overview-of-running-injuries-of-the-lower-extremity

Macera, CA. Pate, RR. Powell, KE. Jack­son, KL. Kendrick, JS. and Craven, TE. (1989) Predic­ ting lower-extremity injuries among habitual runners. Arch lntem Med, 149, 2565-8.

Yeung, EW. & Yeung, SS. (2001). A systematic review of interventions to prevent lower limb soft tissue running injuries. Br J Sports Me, 35, 383-9.

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ. (2562). สถิติประชากรในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษปี 2562. สืบค้น 21 มกราคม 2564, จาก https://www.musisaket.go.th/default.aspx

อรุณี จิระพลังทรัพย์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาเชิงนันนทนาการของกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์. (2532). บาดเจ็บจากการวิ่ง. กรุงเทพมหานคร: รวมทรรศน์.

ชาญกิจ คำพวง. (2548). การบาดเจ็บของผู้นำเต้นแอโรบิกในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสรีนครินวิโรฒ.

Kennedy, JG. Knowles, B. and Dolan, M. (2005). Foot and ankle injuries in the adolescent runner. Curr Opin Pediatric, 17, 34- 42.

Schwane, JA. Johnson, SR. Vandenakker, CB. and Armstrong, RB. (1983). Delayed onset muscular soreness and plasma CK and LDH activities after downhill running. Med Sci Sports Exerc, 15, 151-156.

ธีรวัฒน์ กุลทนันท์. (2543). การปฐมพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บทางกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.