การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดหนองคาย Factors Associated with Causes of Death in Tuberculosis Patient Nong Khai Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยศึกษาย้อนหลังเชิงบรรยาย (Retrospective descriptive study design) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโปรแกรมฐานข้อมูลวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Information Programmer: NTIP) ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งในจังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 1,640 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสืบค้นข้อมูลโปรแกรมฐานข้อมูลวัณโรคแห่งชาติ ของสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ Univariate และ Odds Ratios ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95 (Confidence interval: CI) ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square
ผลการศึกษา พบว่า อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค คิดเป็นร้อยละ 80.30 ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 13.05 และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค คือ ผู้ป่วยที่มีช่วงอายุ 45 – 64 ปี (OR = 4.73; 95% CI = 2.91 – 7.70) มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป (OR = 2.74; 95% CI = 31.92 – 3.91) มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม (OR = 1.86; 95% CI = 1.36 – 2.55) และมีผลการติดเชื้อเอชไอวี (OR = 2.69; 95% CI = 1.89 – 3.98) ประกอบกับการไม่ได้รับยาต้านไวรัส (RR = 1.83; 95% CI = 0.14 – 2.94) จะเห็นว่าปัจจัยเกี่ยวข้องที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะมีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
คำสำคัญ: วัณโรค, สาเหตุการเสียชีวิต, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Article Details
References
World Health Organization. Global tuberculosis report: Geneva [Internet]. 2020 [cited 2021 June 25]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240013131
World Health Organization. Tuberculosis profile: Thailand [Internet]. 2021 [cited 2021 June 25]. Available from: https://worldhealthorg.shinyapps.io/tb_profiles/?_
inputs_&entity_type=%22country%22&lan=%22EN%22&iso2=%22TH%22
กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ตัวชี้วัดที่ 25.1 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1592
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการปฏิบัติการผสมผสานวัณโรคและเอดส์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: เจ. เอส. การพิมพ์; 2560.
กองวัณโรค.แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2565. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การคัดกรองเพื่อค้นหา วัณโรคและวัณโรคดื้อยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 (เพิ่มเติม 2565). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
นพดล วรรณเจริญ. ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดในคลินิกวัณโรค จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559, 23(1): 22-34.
Moolphate S, Aung MN, Nampaisan O, et al. Time of highest tuberculosis death risk and associated factors: an observation of 12 years in Northern Thailand. Int J Gen Med 2011; 4:181-90. doi: 10.2147/IJGM.S16486 PMID: 21475634.
ฐานันดร์ ฐานวิเศษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2563; 40(1):97-107.
เจริญศรี แซ่ตั้ง. วัณโรคในผู้ต้องขังเรือนจำในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารกรมควบคุมโรค. 2562; 45(2): 149-160.
เสถียร เชื้อลี. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2561; 16(1):16-24.
กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, ยงยุทธ์ เม้ากำเนิด, พงศ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม, นันทพร ทำมาตา, ภิเษก ศิวงษ์, นภดล วันต๊ะ. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่. พุทธชินราชเวชสาร.2556; 30(3): 276-85.
Padmapriyadarsini C, Shobana M, Lakshmi M, Beena T, Swaminathan S.Undernutrition&
tuberculosis in India: Situation analysis & the way forward. Indian J Med Res. 2016; 144: 11–20.
Dargie B, Tesfaye G, Worku A. Prevalence and associated factors of undernutrition among adult tuberculosis patients in some selected public health facilities of Addis Ababa, Ethio-pia: a crosssectional study. BMC Nutrition. 2016; 2-7.
Biruk M, Yimam B, Abrha H, Biruk S, Amdie FZ. Treatment outcomes of tuberculosis and associated factors in an Ethiopian University Hospital. Advances in Public Health 2016; 2016:1- 9. doi: 10.1155/2016/8504629.
จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคำ, ฤทัยรัตน์ แสงนา, วีรพันธ์ การบรรจง, กนกรส โค้วจริยะพันธุ์, และคณะ. ปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ในโรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร. 2559; 8(1): 53-59.
Gustavo E, Velásquez J, Peter C, Megan B, Murray M J, A. Yagui, et al. Impact of HIV on mortality among patients treatfor tuberculosis in Lima, Peru: a prospective cohort study. BMC Infectious Disease. 2016; 16:45
Kayigamba F.R, Bakker MI, Mugisha V, De Naeyer L, Gasana M, Cobelens F, et all. Adherence to tuberculosis treatment, sputum smear conversion and mortality: a retrospective cohort study in 48 Rwandan clinics. PloS one. 2013; 8.9: e73501. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0073501.
Tweya H, Feldacker C, Phiri S, Ben-Smith A, Fenner L, Jahn A.,et all. Comparison of treatment outcomes of new smear-positive pulmonary tuberculosis patients by HIV and antiretroviral status in a TB/HIV clinic, Malawi. PloS one. 2013; 8 (2); e56248. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0056248
Murray CJ, Ortblad KF, Guinovart C, Lim SS, Wolock TM, Roberts DA, et al. Global, regional, and national incidence and mortality for HIV, Tuberculosis, and Malaria during 1990 - 2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013. The Lancet. 2014; 384.9947: 1005-70.
ศิโรตม์ จันทรักษา. ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอด เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564; 18 (2): 88-96.