ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ด้วยการแพทย์แผนไทย ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 : กรณีศึกษาโรงพยาบาลคลองหลวง The Effect of Applying The health Behavior modification Program according to the 3E 2S Guidelines With Thai Traditional Medicine on The control of Blood Sugar Levels in Patients with Type 2 Diabetes : A case Study of a Khlongluang Hospital

Main Article Content

ปภาวี พรหมสูงวงษ์ พทป.บ
เนตรนรินทร์ พิศาลธนวงศ์ พทป.บ
ชัยธวัช สงวน พท.บ
เจนจิรา คาคม พทป.บ
อัจฉรา คล้ายมี พย.บ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง(One Group Pre – Post Test Design) เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ด้วยการแพทย์แผนไทย ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาทั้งหมด 3 ประเด็น คือ  ความรู้รอบด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า(FPG) และค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุดหลังอาหาร A1C เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน  โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ คำแนะนำ และการให้คู่มือเสริมความรู้ด้วยการแพทย์แผนไทยร่วมกับการบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ อาหารพื้นบ้านสมุนไพรที่ถูกต้อง สาธิตและฝึกปฏิบัติท่าบริหารฤาษีดัดตน  วิธีผ่อนคลายความเครียดด้วยอบไอน้ำสมุนไพร วิธีการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุราด้วยสมุนไพร ใช้เวลาดำเนินการศึกษาทั้งสิ้นใช้เวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ  Paired t-test


          ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพและค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพตาม3อ.2ส. เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมในส่วนค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า(FPG) และระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือด (HbA1C) หลังการเข้าร่วมโปรแกรม ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  แสดงให้เห็นว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการประยุกต์ใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.  ด้วยการแพทย์แผนไทย มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ซึ่งเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินของโรคเบาหวานได้        

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557.

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 8th Edition 2017 Country Reports-Thailand [Internet]. 2017. Available from https://www.diabetesatlas.org/atlas/eighth-edition.

International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas 8th Edition [Internet]. 2017 [cited 2022October10]. Available from : https://www.idf.org/e-library/epidemiology-research/diabetes-atlas/134-idf-diabetes-atlas-8th-edition.html.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย

ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. อาหารกับการควบคุมเบาหวาน.ใน รัชตะ รัชตะนาวิน และธิดา นิงสานนท์ (บก.), ความรู้เรื่องเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์ ; กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. 2552. 131- 163.

Thomas A, Rajesh EK, Kumar DS. The Significance of Tinospora crispa in Treatment of Diabetes Mellitus. Phytother Res. 2016;30(3) : 357-66

สำนักงานธารณสุขจังหวัดปทุมฐานี HDC dashboard. [สืบค้นเมื่อ 30 พ.ย 65]. เข้าถึงได้จาก :

https://pte.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.phpsource=pformated.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวช ปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์; 2557.

วิภา อุทยานินทร์, เสาวนันท์ บำเรอราช, กาญจนา นิ่มสุนทร. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน : ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการเบาหวานในอำเภอห้วยแถลง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;1: 11-24.

American Diabetes Association. Classification and Diagnosis of Diabetes. Diabetes Care 2017; 40 (Suppl 1): S11-S24.

Karam J. G., & McFarlane, S. I. Update on the prevention of type 2 diabetes.

Current Diabetes Reports. 2011;11(1): 56-63.

อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2561 ; 3(2): 58-72.

กิติศักดิ์ และคณะ.การประยุกต์โปรแกรมการนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จังหวัดเพชรบุรี . เวชสารแพทย์ทหารบก 2561;71(3):183-191.

จุฑารัตน์ บุญพา, สุพัตรา ใจเหมาะ. ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการแพทย์

เขต11 2558 ; 29 (2) : 215-218.

พงศธร พอกเพิ่มดี. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ. ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(1) :173-186.