การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ตามเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพ ด้านการเงินการคลัง (Total Performance Score : TPS) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข Improving efficiency of fiscal management Service unit under Nong Khai Provincial Public Health Office According to the criteria for assessing financial and fiscal efficiency (Total Performance Score: TPS), Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Main Article Content

ชญาภา อุปดิษฐ์
อัญชลีพร วุฒิเป๊ก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง 2) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา เป็นบุคลากรผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินการคลังของโรงพยาบาล จำนวน 36 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกผลงานด้านการเงินการคลัง ปีงบประมาณ 2562-2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (dependent samples)                                                                                                             ผลการศึกษา พบว่า มีหน่วยบริการสุขภาพที่อยู่ในระดับดีมาก (Grade A) คิดเป็นร้อยละ 2.78, 8.33, 0.00 และ 2.78 ตามลำดับ สถานการณ์ทางด้านการเงินการคลังของโรงพยาบาลต่าง ๆ   ในสังกัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยงทางการเงินมากขึ้น อันมีสาเหตุมาจากการมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ จึงมีแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังขึ้นโดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาระบบการตรวจสอบการเงินการคลัง การกำกับติดตามและประเมินผล เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้หรือความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานการบริหารการเงินการคลังก่อนและหลังพัฒนาฯ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งจากการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังนั้น  ส่งผลให้มีระบบที่ดีในการบริหารงานการเงินการคลังให้มีคุณภาพมากขึ้น


คำสำคัญ : การพัฒนาประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง , เกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพ


ติดต่อผู้วิจัย : ชญาภา  อุปดิษฐ์  อีเมล : chayapa5469@gmail.com

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

กองบริหารสาธารณสุข.ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก

https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/0

อภิชาติ อยู่สำราญ. ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ ; 6(2): 184-198.

พิทักษ์พล บุณยมาลิก, ธิดาจิต มณีวัต. แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2564; 15(4): 477-489.

จีระพร ลาสุด, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลภาครัฐในสังกัดสานักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 30(1): 523-531.

ปริญดา ทุนคํา และ จินตนา จันทร์ดี. การประเมินและข้อเสนอแนะการบริหารการเงินการคลังในโรงพยาบาลที่เคยประสบภาวะวิกฤติทางการเงินรุนแรง ระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/news/int-news/item/download/5692_ceb071cbb1d2a0cbf95650f720813365

เจษฎา โชคดำรงสุข. สถานะการเงินของโรงพยาบาล ไตรมาส 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก

www.matichon.co.th/local/quality life/news_948159+&cd=17&hl=th&ct=clnk&gl=th

พิเชษฐ์ เพชรตุ้น. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารการเงินโรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีงบประมาณ 2557 –2561. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ; 2(4): 77-90.

วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ, ปานฉัตร อาการักษ์, จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ภาระหนี้สิน และความสามารถในการอยู่รอดของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 2563;13(1): 188-138.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานประจำปี 2565. หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2565.

กระทรวงสาธารณสุข. Key Performance Indicators: ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก

http://healthkpi. moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=1480

ดนุภพ ศรศิลป์ น้ำค้าง บวรกุลวัฒน์. แนวทางการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเงินการคลัง หน่วยบริการ สป. สธ. โดยใช้ Total Performance Score (TPS). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก

https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/20181220145755.pdf.

สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข; 2559

น้ำค้าง บวรกุลวัฒน์. การศึกษาแนวทางการประเมินประสิทธิภาพ (Total Performance Score : TPS) หน่วยบริการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2565

ชุมพล นุชผ่อง, สมอาจ วงษ์ขมทอง, จันทร์จิรา วงศ์ขมทองและเนตรชนก ศรีทุมมา. กลยุทธ์การเงินของผู้บริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลอุตรดิตถ์ 2560: 9 (1); 1–11.

ธนียา เหลี่ยมพงศาพุทธิ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลัง ของโรงพยาบาล จังหวัดลำปาง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563; 2(2): 15–169.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. รูปแบบการบริหารโรงพยาบาล ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก

https://he02.tci-thaijo.org/index.php /ppkjournal /article/view/68468/55744