การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในหน่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโรงพยาบาลวานรนิวาส Development of System for Infection Prevention and Control for COVID-19 in Hemodialysis Unit Wanon Niwat Hospital

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ปะวะโพตะโก, (พย.ม.)
จีรนัน พิมพการ,(พย.ม.)
ชนิดาภา จอมทรักษ์,(ส.บ.)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในหน่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโรงพยาบาลวานรนิวาส โดยใช้กระบวนการพัฒนาของเคมมิสและแมคทากกาท โดยมีการดำเนินการศึกษาอยู่ 3 ระยะคือ ระยะวางแผน ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล ใช้เวลาศึกษาทั้งหมด 15 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565  กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม จำนวน 38 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยฟอกเลือด จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความรู้ แบบสอบถามและแบบสังเกตการปฏิบัติตัวการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคโควิด-19 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปประเด็น ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อวัดระดับความรู้ และระดับการปฏิบัติตัว การเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test และเปรียบเทียบสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องก่อนและหลังใช้สถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test                 ผลการวิจัย พบว่า มีการปรับเปลี่ยนแผนตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จัดระบบการคัดกรองผู้ป่วยและบุคลากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ กำหนดระยะเวลาการนัดฟอกไตล่วงหน้าผ่านโทรศัพท์ และออกแบบระบบการฟอกไตใหม่กับกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันโรคให้เพียงพอ    เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังพัฒนาระบบฯ พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนสูงขึ้น และมีสัดส่วนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และความรู้และการปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยฟอกเลือด ก็มีคะแนนสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)และ(p<.05) มีสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)  จากการพัฒนาฯ ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดียิ่งขึ้น สามารถรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 เข้ารับการฟอกไตได้อย่างต่อเนื่อง และไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อในหน่วยงานทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ


 

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-2019) situation reports

[Internet]. [Cited 2022 Jan 26]. Available from:

https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ประจำวัน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม

. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/covid-19-daily.

โรงพยาบาลวานรนิวาส. งานระบาดวิทยาโรงพยาบาลวานรนิวาส: ทะเบียนผู้ป่วยโควิด-19 ปี พ.ศ. 2564

Eqbi O, Adejumo O, Akinbodewa A. Coronavirus infection and kidney disease: a review

Of current and emerging evidence. Pan African Medical. 2020; 37: 149.

Simon R, Chantal F, Ski L, Flaherty E, David R, Susan L, et all. Design and protocol for the

Dialysis Optimal Health Program (DOHP) randomized controlled trial. 2016. Trials, 17:447

Huang L, Wang Y, Lisheng W, Lv Y, Liu Q. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) pneumonia

In a hemodialysis patient: A case report. Medicine.2020; 99 (27): e20956.

Chen C, Shao S, Chen Y, Hsu C, Hsu H, Lee C, et all. Incidence and Clinical Impacts of

COVID-19 Infection in Patients with Hemodialysis: Systematics Review and Meta-Analysis

of 396,062 Hemodialysis Patients. Healthcare Journals. 2021; 9(1): 1-14.

Ibernon M, Buen I, Rodriguez-Farre N, Ruiz P, Sanchez A, Masso E, et al. The impact

of COVID‐19 in hemodialysis patients: Experience in a hospital dialysis unit.

Hemodial Int. 2021; 25(2): 205–213.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. (3rd Ed.). Geelong, Victoria: Deakin

University Press: 1988.

Centers for Disease Control and Prevention. Interim Additional Guidance for Infection

Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed

COVID-19 in Outpatient Hemodialysis Facilities. [Internet]. [Cited 2020 Jan 16]. Available

From: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/dialysis.html#screening-triage-

Management.

กรมควบคุมโรค. (2564).แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(Coronavirus Disease 2019: COVID-19) กรมควบคุมโรค ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก :

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt_221264.pdf

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อแนะนำแนวปฏิบัติการป้องกัน

และควบคุมโรคติดเชื้อ กรณีโรคโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21

มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:

htps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/G32.pdf.

โรงพยาบาลสิริธร. มาตรฐานการบริการพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.sirindhornhosp.go.th/userfile/file/nursing_standards/14.pdf