การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาฟารีน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย The Development of a Care Model for Patients Receiving Warfarin Drug Phon Phi sai Hospital, Nong Khai Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงกับผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟาริน จำนวน 30 คน การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ระยะดำเนินการ และระยะการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินความรู้การใช้ยาวาร์ฟาริน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกข้อมูลผลตรวจเลือดหาค่า INR วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยคลินิกวาร์ฟาริน ประกอบด้วย 1) การจัดระบบบริการในคลินิก 2) ทีมสหวิชาชีพร่วมดูแลผู้ป่วย 3) กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินทุกโรคโดยมีข้อบ่งชี้ ในการใช้ยาที่ชัดเจน 4) การให้คำปรึกษาการใช้ยารายบุคคลโดยเภสัชกร 5) จัดสื่อให้คำแนะนำเรื่องอาหาร 6) การติดตามเยี่ยมบ้าน 7) มีระบบให้คำปรึกษาแก่เครือข่าย ผลจากการใช้รูปแบบฯ พบว่า ผู้ป่วยได้เรียนรู้หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและใช้ยาได้เหมาะสม จนทำให้ค่า INR อยู่ในช่วงที่มีผลดีต่อการรักษา และช่วยลดอัตรา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้มากขึ้น มีความพึงพอใจต่อการบริการเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้ยาวาร์ฟารินก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001)
Article Details
References
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับ
ประทาน.[อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค.2564] เข้าถึงได้จาก
http://www.thaiheart.org/images/column1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf
นิตย์สุภา วัฒนชัย, สุทธิดา แก้วมุงคุณ. เภสัชวิทยาและปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของยาวาร์ฟาริน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;
(2):189-99.
Ansell J, Hiirsh J, Poller L, Bussey H, Jacobson A, Hylek E. The Pharmacology and Management of the Vitamin K
Antagonist. Chest 2004; 126: 204-33.
Chiquette E, Amato MG, Bussey HI. Comparison of an anticoagulation clinic with usual medical care. Arch Intern
Med 1998; 158: 1641-47.
สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโพนพิสัย. 2564.
พุทธชาติ ฉันทภัทรางกรู. ผลการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยที่รับประทานยา Warfarin โรงพยาบาลบางสะพาน
ประจวบคีรีขันธ์. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังล 2560 ; 2(1): 59-67.
Kermis, S & Mc Tagart, R. The Action Research Planer (3rd ed). Victoria: DeakinUniversity; 1988.
Bloom, B.S. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Los Angeles. University of California at Los
Angeles; 1971.
ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร:กรุงเทพฯ ; 2542.
เกษร สังข์กฤษ, ทัศนีย์ แดขุนทด, อุไรวรรณ ศรีดาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาล
สกลนคร.วารสารสมาคมพยาบาล 2564; 2(1): 96-106.
วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ. การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2562; 11(2): 1-8.
พีระพงศ์ ภูบาล. การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาวาร์ฟารินและการพัฒนาระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยาวาร์
ฟารินในระดับปฐมภูมิ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2563.
ศุกลดี ช้อยชาญชัยกุล, พรทิพย์ มาลาธรรม, สุภาณี กาญจนจารี. การใช้ยาวาร์ฟารินในผู้สูงอายุ. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล
รามาธิบดี 2551; 14(3) :366-82.
ฐิติกานต์ กาลเทศ. ศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของ .วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
; 22(2) :1-12.
พิทยาธร โยมศรีเคน, ทิพย์วาณี ธัญญะวัน, รชตะ มังกรแก้ว, รณชัย ชมเมือง. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับINR และการเกิดภาวะ
เลือดออกในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลวารินชำราบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560; 13(1) :303-9.
ศุภปริญณ์ แสงสุวรรณ, สัจจาภรณ์ ทองใบ,ปิยะภรณ์ กางกั้น ,ศศิภา อภิสกุลโรจน์, วิระพล ภิมาลย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับ
INR และประสิทธิผลของการให้กล่องยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมระดับ INR ในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน. วารสาร
เภสัชกรรมไทย 2562; 11(1) :51-9.
ติยารัตน์ ภูติยา. การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสาหรับการดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลโขงเจียม. วารสาร
วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2566; 12(1): 58-66.
วิไลวรรณ เจริญผลดี, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ, นวรัตน์ สุทธิพงศ์. การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2551; 19(1) :36-45.