การพัฒนาสมรรถนะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย Development of Advanced Life Support Competency in Emergency and Forensic Nursing at Phon Phisai Hospital, Nong Khai Province.

Main Article Content

กฤษณา จันทร์เมือง พย.บ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษากับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 13 คน โดยการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่ การบรรยาย การสาธิต-สาธิตย้อนกลับ และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบวัดความรู้  แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนหลังโดยใช้สถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test


                ผลการวิจัย  ภายหลังการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅=18.40, SD.=0.9) มีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอยู่ในระดับดี (𝑥̅=7.60, SD.=1.58)  และมีความพึงพอใจต่องานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=3.65, SD.=0.51) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงก่อนและหลังพัฒนาฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ โดยการจัดกิจกรรมให้มีการพบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ให้มีความพร้อมที่จะให้การช่วยฟื้นคืนชีพกับผู้ป่วยนั้น ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จในการกู้ชีพได้มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. วิสัยทัศน์และนโยบายการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย พ.ศ.2564-2568.

[อินเตอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้

จาก https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2021/EBook/41312620210712063031.pdf

พรรณี ศรีพารา. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงโดยใช้สถานการณ์จาลองต่อความรู้และทักษะของพยาบาล

โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2564; 10(1): 26-35.

American Heart Association. High-Quality CPR 2015 [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก

https://cpr.heart.org/en/resuscitation-science/high-quality-cpr

ปิยดา จันทรกุล.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; 2562.

[อินเตอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://mkho.moph.go.th/research2018/showdata.php?

id=153hai.pdf

ธวัช ชาญชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติ

การช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2554;29(1):39-49.[อินเตอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 10

ธ.ค. 2563].เข้าถึงได้จาก http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/Knowledge/JOMAT/jomat-y08v01s17.pdf

American Heart Association. ส่วนสาคัญที่สุดของแนวทางสาหรับการทำ CPRและECC ประจาปี 2020 [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้า

ถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://cpr.heart.org/-/media/cpr-files/cpr-guidelines-

files/highlights/hghlghts_2020eccguidelines_thai.pdf

โรงพยาบาลโพนพิสัย. สรุปประเมินผลการดำเนินงานประจำปีโรงพยาบาลโพนพิสัย 2562-2564.เอกสารอัดสำเนา: หนองคาย; 2564.

รัตติกาล เรืองฤทธิ์, ปรียา แก้วพิมล,กิตติพงศ์ เซ่งลอยเลื่อน. ความรู้ทักษะและความมั่นใจในสมรรถนะของตนในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้น

พื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนชีพคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เออีดี: AED) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัย

นราธิวาสราชนครินทร์ 2564;13(2):125-141. [อินเตอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2565].เข้าถึงได้จาก https://li01.tci-

thaijo.org/index.php/pnujr/article/download/243612/171518

สุคนธ์ พฤทธิประเสริฐ. การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการช่วยฟื้นคืนชีพ. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ สา

นักการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค 2564].เข้าถึงได้จาก

http://203.155.220.238/csc/attachments/article/189/nurse600502.pdf.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby; 2001.

พรพิไล นิยมถิ่น. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย .

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุรี; 2561.

อุรา แสงเงิน,สุพัตรา อุปนิสากร,ทิพมาส ชิณวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาลโรง

พยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2555; 32(1): 1-10 .

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์. แบบฟอร์ม Nursing Care Plan (รายงานการวางแผนการ

พยาบาล).2562 [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค 2564].เข้าถึงได้จาก

https://nursing62.blogspot.com/2019/09/11.html

Benner P. Novice to Expert Excellence and Power in Clinical Nursing Practice. Addison- Wesley; Menlo Park.,

สุเจตนา ภูมิสวาสดิ์. ความรู้และความพึงพอใจในบทบาท และหน้าที่ของวิสัญญีพยาบาล ภายหลังการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้น

สูง [อินเตอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.researchgate.net › profile › publication › links.

กาญจนา บุญจันทร์. การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. งานวิชาการและพัฒนาทางการ

พยาบาล. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค 2564]. เข้าถึงได้จาก

https://w2.med.cmu.ac.th/nis/downloads/?p=808.