ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ Effects of the Motivation Program on lowering blood sugar Levels among Uncontrolled Diabetic Persons

Main Article Content

ทรายุทธ์ บุญเจริญ สบ.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับสลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้จากสถานบริการสาธารณสุขตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรนณา เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เช่น paired t-test และ independent t-test เป็นต้น


          ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่รับโปรแกรมฯ จะมีคะแนนเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตัวต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ จนสามารถดูแลตนเองในควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ

Article Details

บท
Research articles

References

แนวหน้า. เบาหวานเป็นเรื่องต้องรู้ กับกิจกรรมวันเบาหวานโลก. [Internet]. [Cited 2023 Feb 28].

Available from: https://www.naewna.com/lady/692894

เจาะลึกระบบสุขภาพ. สถานการณ์โรคเบาหวาน. [Internet]. [Cited 2022 Dec 15]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054

สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก. [Internet]. [Cited 2022 Nov 5]. Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

Thailand Blueprint for Change. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแล

รักษาโรค เบาหวานในประเทศไทย [Internet] 2017. [Cited 2022 Nov 20]. Available from:

https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/.pdf

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สeนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2558.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูถัมภ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ (อัตราการป่วยด้วย

โรคเบาหวาน) [Internet]. [Cited 2022 Nov 20]. Available from: https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง. รายงานประจำปี 2565.เอกสารอัดสำเนา.

Bonwell, C. C. & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the

Classroom (1 st ed). Washington, D.C.: The George Washington University.

American Diabetes Association. Comprehensive medical evaluation and

Assessment of comorbidities. Diabetes Care. 40 (Suppl.1): S25–S32| DOI:

2337/dc17-S006.

Rawdaree, P., Ngarmukos, C., Deerochanawong, C., Suwanwalaikorn, S., Chetthakul, T., Krittiyawong, S., & Mongkolsomlit, S. Thailand Diabetes Registry (TDR ) Project : Clinical Status and Long Term Vascular Complications in Diabetic Patients. Journal of the Medical Association of Thailand journal. 2006; 89 (1): 1–9.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2560; 20(40):67-76.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับนาตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์.2556; 6(3): 102-109.

ศศิผกา สินธุเสน. ความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาล

กองบิน บน. 23. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.2559; 24(1): 57-64.

ทินกร ศรีตะวัน, กุลชญา ลอยหา และสุภาพร ใจการุณ. รูปแบบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ในจังหวัด

อุบลราชธานี.วารสารศรีวนาลัยวิจัย. 2564; 11(1): 41-56.

วรางคณา บุตรศรี และรัตนา บุญพา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและ

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1): 13-25.

นันนภัส พีระพฤฒิพงค์, น้ำอ้อย ภักดีวงค์ และอำภาพร นามวงค์พรหม. ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะในผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.2555;30(2).

นวพร ทุมแถว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย

เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัด

อุบลราชธานี.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 7(3) : 32-44.

Bourbeau, J.,Jurein, M., Martais, F., Rouleau, M., Beaupre., Begin , R., & et al., (2003).

Reduction of hospital utilization in patients with chronic pulmonary disease: a diseasespecificself-management intervention. Archives of Internal Medicine.2003;163(5):585591.

Szyndlera, J. E., Townsa, S. J., Peter, P., & McKay, O. K. Psychological and family Functioning and quality of life in adolescents with cystic fibrosis. Journal of Cystic Fibrosis. 2005; 4(2): 135-144.

ศิริวัฒน ์วงศ์พุทธคำ. ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ปราง บัวทองคาวิเศษ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด

ที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560; 9(1):105-115.

อภิชาต ศิริสมบัติ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช และสุพรรณี จิรจริยาเวช. ผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่มต่อระดับฮีโมโกลบินชนิดเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 . วารสารพยาบาลศาสตร์.2559; 34 (2): 118-128.

ปิยาภรณ์ ด้วงนิล. การพัฒนาการส่งเสริมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา . [พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง”. [Internet]. [Cited 2022 Noe 18]. Available from:https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188820211015084413.pdf

ปิยะพร ศิษย กุลอนันต , พรสวรรค คำทิพย์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการติดตามด้วย

แอปพลิเคชัน LINE ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายแกว่งแขนและระดับน้ำตาล

ในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ . วารสารสภาการพยาบาล. 2563; 35(2): 52-69.