การพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิโรงพยาบาลสกลนคร Network development of social care Disabled Persons to support the primary health care system Sakon Nakhon Hospital

Main Article Content

นิชาพร ศรีนุต สส.บ.

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้พิการ เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้พิการที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงกับผู้พิการที่พักอาศัยในพื้นที่ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามของแพลตฟอร์มโซเชียลเทเลแคร์ (Social  Telecare  Platform)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น


           ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้พิการมีความต้องการการดูแลสุขภาพที่บ้าน ต้องการคนช่วยเหลือในการดำรงชีวิตประจำวัน ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และต้องการการสนับสนุนทางสังคม แบ่งผู้พิการเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มสีเขียว คือ ผู้พิการที่มีผู้ดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐขั้นพื้นฐาน 2) กลุ่มสีเหลือง คือ  ผู้พิการที่มีปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจเล็กน้อยถึงปานกลาง ได้รับการสนับสนุนกายอุปกรณ์ในการเคลื่อนไหว และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม 3) กลุ่มสีแดง คือ ผู้พิการที่ต้องได้รับการเยี่ยมบ้าน ผลจากการพัฒนาฯ พบว่า ผู้พิการจะได้รับการพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมและมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์เป็นผู้ประสานงานกับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิและในโรงพยาบาล รวมทั้งประสานการเชื่อมโยงศูนย์บริการคนพิการเพื่อให้การช่วยเหลือหลายๆด้าน และจากการใช้ระบบของแพลตฟอร์มโซเชียลเทเลแคร์เข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูลผู้พิการ ทำให้แก่นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และทีมสหวิชาชีพทางด้านสุขภาพ สามารถบริหารจัดการนำข้อมูลตลอดจนการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research articles

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาการดูแลสุขภาพคนพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1.

นนทบุรี: สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ; 2559.

ชานนท์ คันธฤทธิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการ ในจังหวัดนนทบุรี.

วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2561; 1(1): 1-16.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และสายสมร วชิระประพันธ์. การพัฒนากำลังคนสาธารณสุข

เพื่อสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(4): 743-759.

นครินทร์ โสมาบุตร. การพัฒนารูปแบบบริการตามนโยบาย 3 หมอ ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยประคับประคองใน

ชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566; 17(2) :532-542.

ศูนย์บริการคนพิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1

ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://www.m-society.go.th/more_news.php?cid=146

รัชนี สรรเสริญ, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, สมพร รักความสุข, วรรณรัตน์ ลาวัง และ เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ.

การพัฒนารูปแบบภาคีเครือข่ายการดูแลคนพิการในชุมชนแบบเป็นหุ้นส่วน กระบวนการ: WE CAN DO by

TIM. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2555; 5(3): 17-36.

บุญธิดา บุญแก้ว. การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต

[วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม].

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

ศิรินาถ ตงศิริ. แนวทางการนำฐานข้อมูลสมรรถนะของคนพิการไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

คนพิการในชุมชน. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข 2556; 7(1): 99-113.

เรณู ภาวะดี. ผลการพัฒนาระบบบูรณาการดูแลคนพิการ โดยใช้ฐานข้อมูลสมรรถนะคนพิการเครือข่าย

บริการสุขภาพ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 29(3): 467-477.

สุทธิชัย เพ็ชรศรี, สิริพรรณ ศรีมีชัย และ ฉันทนา เลอ มูแอลลิค. ครอบครัวบำบัดแนวซาเทียร์กับ

การศึกษาความในใจของผู้ปกครองเพื่อลดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก. รายงานสืบเนื่องการสัมมนา

วิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565: 176-193.

ระพีพรรณ คําหอม และ ธีระ สินเดชารักษ์. การพัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทาง

สังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ. สํานักงานศูนย์วิจัยและให้คําปรึกษา

กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2566.

ยุวดี รอดจากภัย และ กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ. รายงาน

วิจัย. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.