ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย Effects of Preventive Behavior Developing Program for Patients with Cerebrovascular Disease Risk at Fao Rai District, Nong Khai Province.

Main Article Content

สุภลักษณ์ ศรีสุภะ พย.บ
วรรณภา เถื่อนลือชัย พย.บ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ระดับต่ำและปานกลาง ทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-65 ปี ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติเกณฑ์คัดเข้า เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.92 , 1.00 ได้หาค่า KR-20 เท่ากับ 0.78 และหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วงเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที สถิติทดสอบวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


           ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมและรายด้านหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และมีความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โปรแกรมฯนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรค และมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงทำให้ความดันโลหิตลดลง ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ไปเป็นแนวทางในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
Research articles

References

World Stroke Organization. Up again after a stroke. (Internet) (2017). Retrieved Sep 16,

, from https://www.worldstrokecampaign.org/getinvolved/campaigntoolkit/brochures-2017.html.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สารวันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม

. เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/180623.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสำราจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

อักษร กราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์; 2564.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564; 39(2): 39-46.

สุภา เกตุสถิต. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2554.

พรสวรรค์ คำทิพย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อและความตระหนักรู้ด้าน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อ

โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตำรวจ.2556; 6(2): 44-45.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.2559.

รายงานประจำปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก

https://wwwnko2.moph.go.th/plan/index.php?plan=w5-yearreport

HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนองคาย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก

https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

พีระ บูรณะกิจเจริญ. โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2553

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไปพ.ศ.2562. นนทบุรี: สมิตรพริ้น

ติ้ง แอนด์ พับลิสชิ่ง; 2562.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. Health program planning: An education and ecological approach (4th ed). New

York: McGraw-Hill; 2005

ขจรพรรณ คงวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี.

[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2559.

นรลักษณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PECEDE MODEL ในการสร้างสุขภาพ. วารสารสภากาชาดไทย 2562;

(1): 38-48.

ทัศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

จิราภรณ์ อังวิทยาธร. การเดินเพื่อสุขภาพ [อินเตอเน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/445

ธนาพร ปะตาทะโย, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพยาบาล 2563; 69(3): 1-10.

ปรีดา ยศดา. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันลิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัด

มหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563.

กรุงเทพฯ: เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไปพ.ศ. 2555 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.

[อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก

http://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf