การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการสร้างเขตพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่ท่องเที่ยวระหว่างชายแดนจังหวัดหนองคาย กับเมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ (สปป.ลาว) The development of an operational model for creating a rabies-free zone in the tourist area between the border of Nong Khai Province and Saysettha District, Vientiane Capital (Laos PDR).

Main Article Content

ธวัชชัย เหลืองศิริ ส.บ.
สุรชัย กิจติกาล ส.ม.
ฑภณ เตียวศิริชัยสกุล ส.บ.

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed methods research) โดยการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (Micro Implementations) เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้านในชุมชนท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย และขยายผลไปใช้ในเมืองชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบ แนวคิด รูปแบบฯ  2) การพัฒนารูปแบบฯโดยการปรึกษาหารือเพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ 3) การนำไปปฏิบัติตามแนวทาง (Deliverer Implementation) โดยการสร้างพื้นที่เขตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย 4) ขยายผลโดยการนำไปปรับใช้กับเมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสำรวจสัตว์เลี้ยง แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


           ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาเพื่อสร้างพื้นที่เขตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนท่องเที่ยว ของเทศบาลเมืองหนองคาย ได้มาจากการแลกเปลี่ยนมุมมอง เพื่อระดมสมองกับผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการหาแนวทางปฏิบัติที่จะใช้เป็นมาตรฐาน ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 รวมทั้งบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่  โดยการรณรงค์การฉีดวัคซีนให้กับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำทุกปี และบรรจุเป็นแผนพัฒนาฯ 5 ปีเพื่อสร้างความต่อเนื่อง จากนั้นนำรูปแบบฯไปปรับใช้กับเขตเมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)  พบว่า การดำเนินงานเชิงรุกในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณสนับสนุน ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลสัตว์เลี้ยง ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง และประชาชนในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคฯ ขณะเดียวกันก็ยังไม่มีการขับเคลื่อนและบังคับใช้ในทางกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม


 


คำสำคัญ :  การพัฒนารูปแบบ, เขตพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า, พื้นที่ท่องเที่ยวระหว่างชายแดน

Article Details

บท
Research articles

References

World Organization for Animal Health. (2019). Terrestrial Code Online Access. Retrieved from Chapter 8.14

Infection with Rabies Virus: y [Internet]. [Cited 2024 Feb 2]. Available from http://www.oie.int/en/what-we-

do/standards/codes-and-manuals/terrestrial-code-online-access/?id=169&L=0&htmfile=chapitre_rabies.htm

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดหนองคาย. ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว [ออนไลน์]. 2563. [อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. จาก

http://www.mots.go.th/nongkhai/more_news.php?cid=11

ฐิตพล น้อยจาด. ตัวแบบการนาทฤษฎีนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารธุรกิจดิจิทัลและสังคมศาสตร์ 2565; 9(1): 1-16.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ: An integrated theory of public policy implementation

(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สมาคมนักวิจัยไทย TURA.

Berman P. and McLaughlin. (1997). Implementing and sustaining innovations. Santa Monica: The Rand

Corporation.

เสถียร จิรรังสิมันต์. (2549. บทความความรู้เกี่ยวกับองค์กรเครือข่าย. สำนักส่งเสริมและประสานการมีส่วนร่วมองค์กรเครือข่าย. กรุงเทพฯ:

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิรมย์ พวงหัตถ์ และ วิรงรอง หุ่นสุวรรณ. (2552). การศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัข

บ้า. พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.

โกวิทย์ พวงงาม. (2541). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

บพิธ รัตนบุรี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการให้บริการแบบศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop

Service) ไปปฏิบัติศึกษากรณี สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและ

สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรทัย ศรีทองธรรม และ อ้อมทิพย์ พลบุปผา. รูปแบบความร่วมมือในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ ลาว และ

กัมพูชา: ผลลัพธ์จากมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30 (เพิ่มเติมฉบับ 2): S303-S315.