ผลของโปรแกรมการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 3 The Effects of a Programs Slowing the Progress of Patients with Stage 3 Chronic Kidney.
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One groups pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 3 ของโรงพยาบาลสองพี่น้อง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายระยะที่ 3 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการชะลอไตเสื่อมที่ประยุกต์ใช้แนวคิดตามแบบจำลองพรีซีด-โพรซีด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม หาค่าความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.88 และ 0.86 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.74, 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed rank test
ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคไตวายเรื้อรัง มีพฤติกรรมชะลอไตเสื่อม และอัตรากรองของไตสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ความดันซีสโตลิก/ ไดแอสโตลิก และระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) จะเห็นว่า โปรแกรมดังกล่าวสามารถชะลอไตเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกแบบกิจกรรม เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
Kovesdy., C. P. Epidemiology of chronic kidney disease an
update 2022. Kidney Int Suppl 2022; 12(1): 7-11.
Bikbov, B., Levery, A., Smith, M., Abdoli, A., Abebe, A.,
Afarideh, M., et al. Global, Regional, and nation burden of
chronic kidney disease, 1990-2017: a systematic analysis For
the Global burden of Disease Study 2017. The Lancet 2022;
(10225): P709-733.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 Hemodialysis Clinical Practice
Recommendation 2014. กรุงเทพฯ; 2557.
กรมควบคุมโรค. คนไทยป่วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่ม [อินเทอร์เน็ต]. 2566
[เข้าถึง เมื่อ16 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก
https://www.hfocus.org/content/2023/03/27217
Calvert, J. H., & Cline, D. M. End-stage renal disease. In J. E.
Tintinalli, O. Ma, D.M.Tealy, G. D. Meckler, J. Stapczynski, D.
M. Cline & S. H. Thomas, (Eds.) Tintinalli’s Emergency
medicine: A comprehensive study guide. New York:
McGraw-Hill; 2019.
Xie, Y., Bowe, B., Mokdad, A., Xian. H., Yan, Y., Li, T., (2018)
Analysis of the Global Burden of Disease study highlights
the global, regional, and national trends of chronic kidney
disease epidemiology from 1990 to 2016. Kidney Int 2018;
(3): 567-581.
โรงพยาบาลสองพี่น้อง. งานโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง:
ทะเบียนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2565.
ละอองดาว ทับอาจ. ผลของรูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
ระยะที่ 3 อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. หลักสูตรปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร; 2559.
ขวัญเรือน แก่นของ, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, สุณี เลิศสินอุดม และอัมพร
พรรณ ธีรานุตร. ผลของ โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อ
พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วย โรคไต
เรื้อรังระยะที่ 1-3 . วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;
(3): 211-220.
โรงพยาบาลสองพี่น้อง. งานโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง:
ทะเบียนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2566.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง
CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง สำนักงานกิจการ.
องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ : กรุงเทพฯ; 2559.
โสมพันธ์ เจือแก้ว และ ศิราณี เครือสวัสดิ์. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรค
ไตวายที่มารับการผ่าตัดใส่สายสวนระยะยาวเพื่อฟอกเลือดในระยะ
เตรียมก่อนผ่าตัดและระยะตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/.pdf
Jha, V., Garcia, G., Iseki, K.,Li, Z., Naicker., Plattner, B., et al.
Chronic kidney Disease: global dimension and
perspectives. The Lancet 2013; 382(9888): 260-272.
Green, L., & Kreuter, M. Health program planning: An
educational and ecological Approach (4th ed.). McGraw Hill;
สร้อยฟ้า สีสมุทร, สมหวัง ซ้อนงาม, นุชจรีย์ นุชวิลัย และชิดชนก
จันทร์ตรี. โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อชะลอไต
เสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองขมิ้น อำเภอ
เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เขตสุขภาพที่ 2 ประจำปี 2560
[อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม2566] เข้าถึงได้จาก
http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file
download/file
Beavis J, Sobey B, Holt S. Individual versus group chronic
kidney disease education [monograph on the Internet].
Maryland: Royal Melbourne Hospital Nephrology Parkville
Australia; 2020.
พนิดา รัตนศรี. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอ
ไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสาร
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2): 209-224.
รังศิมา รัตนศิลา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, สิริ
ประภา กลั่นกลิ่น, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของการจัดการโปรแกรมการ
จัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
[อินเตอร์เน็ต].2558. [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก
thaijo.org/index.php/phn/article/view/48508/40301.