การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ Quality Improvement of Nursing Handover in the patient Department Sri Chiang Mai Hospital.

Main Article Content

ชุตาภา ศรีสุรัตน์ พย.บ.

บทคัดย่อ

การสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล เป็นกระบวนการส่งข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยจากพยาบาล ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยมาก่อนหน้านี้ไปยังพยาบาลอีกคน การส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและความปลอดภัย ลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการสื่อสารแบบ ISBAR มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนากระบวนการรับส่งเวร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม- เดือนตุลาคม 2566 โดยใช้แบบประเมินผลของการรับส่งเวรด้วยเทคนิค ISBAR จำนวน 27 ข้อ และแบบบันทึกอุบัติการณ์ที่เกิดจากการรับส่งเวรทางการ จำนวน 12 ข้อ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.90 และทดสอบหาค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cornbrash’s coefficient alpha) ได้เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติวิลคอกสัน   ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้กระบวนการรับส่งเวรทางการพยาบาลตามหลักไอเอสบาร์ คุณภาพการส่งเวรของพยาบาลในด้านความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนการใช้กระบวนการฯทั้งโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 พบอุบัติการณ์จากการรับส่งเวรทางการพยาบาลลดลงอย่างชัดเจน  สรุปได้ว่า การรับส่งเวรตามเทคนิคไอเอสบาร์ จะช่วยเพิ่มคุณภาพของข้อมูลของผู้ป่วยระหว่างพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลที่ดีและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลผู้ป่วยต่อไป

Article Details

บท
Research articles

References

Forde MF, Coffey A, Hegarty J. The factors to be considered when

evaluating bedside handover. J Nurs Manag 2018; 26(7): 757-68. doi:

1111/jonm.12598.

เสาวนีย์ ราชคม, มงคล สุริเมือง, ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ประสิทธิผลของการนิเทศ

ทางการพยาบาลต่อความถูกต้องในการส่งเวรโดยใช้เทคนิคการสื่อสารแบบ

ISBAR. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร 2565; 26(1):78-88.

ศรีลาวัลย์ สัจจะสกุลชัย, อารี ชีวเกษมสุข. ผลการใช้รูปแบบรายงานการส่งเวร

ด้วยกระบวนการพยาบาลและการบริหารความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการ

สื่อสาร. วารสารพยาบาลตำรวจ 2559; 8(2): 91–106.

อัญชลี สิงห์น้อย, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. การพัฒนา

คุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง.

วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2561; 5(3): 29-42.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (มหาชนองค์กร). เป้าหมายความปลอดภัย

ของผู้ป่วยของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เฟมัสแอนด์ซัสเซ็สฟลู;

Joint Commission Accreditation of Healthcare organization (JCAHO).

Implementing the SBAR Technique. Patient Safety. Toronto

Rehabilitation Institute 6 [Internet]. 2006 [cited 2023 Jun. 18].

Available from: http://opm.gov/insure/health/planinfo/safety.

Bourne C. Inter shift report: A standard for handovers. NT Research

; 5(6): 451-489.

Patterson ES, Wears RL. Patient handoffs: standardized and reliable

measurement tools remain elusive. Jt Comm J Qual Patient Saf

; 36(2): 52-61.

สายทิพย์ ไชยรา. การพัฒนารูปแบบรายงานส่ง เวรด้วยกระบวนการพยาบาลของ

พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหา

บันทิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

Boaro N, Fancott C, Baker R, Velji K, Andreoli A. Using SBAR to

improve communication in inter-professional rehabilitation teams.

J Inter Prof Care 2010; 24(1): 111-4.

Joint Commission National Patient Safety Goal. Improving handoff

communications: Meeting National Patient Safety Goal 2E. The Joint

Perspectives on Patient Safety 2006; 6(8): 9-15.

กรรณิกา ธนไพโรจน์, สุคนธ์ ไข่แก้ว, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์. ประสิทธิผลของ

โปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ ที่โรง

พยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสาร

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2562 ;14(1):9-24.

Rose, M., & Newman, S. Factors influencing patient safety during

postoperative Handover. American Association of Nurse

Anesthetists Journal 2016; 84(5): 329-338.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, บุญทิพย์ สิริธรังศร,ทรงศรี สรณสถาพร, วันเพ็ญ ภิญโญภาส

กุล. การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล. วารสาร

พยาบาลสงขลานครินทร์ 2558 ;39(2): 98-112.

Griffin.,T. Bringing Change of Shift Report to the Bedside: A patient

and Family Centered Approach. Journal of Perinatal and Neonatal

Nursing 2010; 24(4): 348-353

สุกัญญา สบายสุข, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และกนกพร แจ่มสมบูรณ์. ผลของการ

สงเวรโดยใช้รูปแบบไอเอสบาร์ระหว่างพยาบาลห้องฉุกเฉินกับหอผู้ป่วยในต่อ

คุณภาพการส่งเวรตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวร

สถาบันโรคทรวงอก. วารสารพยาบาลศึกษา 2564 ;14(2): 39- 51.

Thompson, J.E., Collett, L.W., Langbart, M.J., Purcell, N.J., Boyd, S

M.,Yuminaga,Y., et al. Using The ISBAR Handover Tool in Junior

Medical Officer Handover: a Study in an Australian Tertiary

Hospital. Postgraduate Medical Journal [online]. 2011 [cited

/11/2023]; 87(1027):340344. Available from

https://doi.org/10.1136/pgmj.2010.105569

สุปรานี ศรีพลาวงษ์, ชุลินดา ทิพย์เกสร. ผลของการใชก้ระบวนการพยาบาลของ

พยาบาลวิชาชีพต่อความเสี่ยงทางคลินิกในหอผู้ป่วยอายรุกรรม

[อินเตอร์เน็ต].2560 (เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2566). เข้าถึงได้จาก https://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/1507187196_15.pdf