ผลการนิเทศทางคลินิกทางการพยาบาลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ของผู้ป่วย โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย Effect of nursing Clinical Supervision in patient bloodstream infections (Sepsis) of sakhrai hospital Nongkhai province.

Main Article Content

ประกายทิพย์ พรหมสูตร พย.ม.

บทคัดย่อ

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นภาวะที่มีการติดเชื้อจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด หรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยตรงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตสูงขึ้น             ซึ่งการนิเทศทางคลินิกทางการพยาบาลจะช่วยป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัย          เชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการนิเทศทางคลินิกทางการพยาบาลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ของผู้ป่วย โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินและงานผู้ป่วยใน จำนวน 25 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่ม                แบบเจาะจงตามเกณฑ์กำหนด จำนวน 16 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต จำนวน 16 ข้อ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต จำนวน 56 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Dependent T- Test


        ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการนิเทศทางคลินิกฯ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต (Sepsis) ร้อยละ 92.00 และเมื่อเปรียบเทียบผลค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังการได้รับการนิเทศทางคลินิก พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตอยู่ในเกณฑ์ระดับผ่าน ร้อยละ 100 การนิเทศการพยาบาลจะส่งผลดีต่อการเพิ่มความเข้าใจและพยาบาลผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น


คำสำคัญ: การนิเทศทางคลินิก , การพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

Article Details

บท
Research articles

References

รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, รัชนี นามจันทรา.

การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562; 30(2): 193-209.

กองยุทธศาสตร์ และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข[อินเตอร์เน็ต].2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567] เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/f iles/kpi_template_edit%201.pdf

เสาวลักษณ์ ต้นสักตระกูล. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ[อินเตอร์เน็ต].2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567] เข้าถึงได้จาก https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4436

Clinical Tracer Highlight การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด: Sepsis โรงพยาบาลสระใคร, 2564-2565.(เอกสารวิชาการ)

พรนภา วงษ์ธรรม และคณะ. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล ผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยรังสิต; 2562.

รัชตวรรณ ศรีตระกูล. เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรอบรมพยาบาล กลยุทธ์การนิเทศทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ.ขอนแก่น : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2566.

กัญญัณณัฏฐ์ พรหมเขจร. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลหนองคาย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ service plan สาขา sepsis [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/03/182107/

พูลสุข หิงคานนท์. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริการพยาบาล. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล. นนทบุรี : สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.

รุ่งทิพย์ เจริญศรี,รุ่งรัตน์ สายทอง,จรูญศรี มีหนองหว้า และวันชัย เลิศวัฒนวิลา.การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566;29(3):56-74.

ดรุณี แปงทิศ. รายงานการวิจัย ผลการใช้โปรแกรมการนิเทศทางคลินิกต่อการพัฒนาความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสันทราย [อินเตอร์เน็ต]. 2565.[เข้าถึงเมื่ 19 มิถุนายน 2566] เข้าถึงได้จาก https://chiangmaihealth.go.th/detail_academic.php?academic_id=7

สุพัตรา สงฆรักษ์. ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิก สำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

ลออศรี ประเสริฐสุข. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

รุ่งอรุณ บุตรศรี, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ และ ปราณี มีหาญพงษ์. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบ โกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563; 26(2): 84–96.

หรรษา เทียนทอง และพุทธชาติ สมณา. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ.[อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567] เข้าถึงได้จากhttps://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4436