ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ Results of a caregiver education program for managing fever in children, Thabo crown Prince Hospital.

Main Article Content

วินยา ธนาสุวรรณ พย.บ.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้กับผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลของเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ในโรงพยาบาล จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก และแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการไข้เด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test 


              ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการจัดการอาการไข้ของเด็กหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 12.45, p <0.000) จะเห็นว่า โปรแกรมการให้ความรู้ในการจัดการอาการไข้ของเด็ก จะช่วยให้ผู้ดูแลมีความรู้ทั้งในด้านการวัดไข้ การอ่านฉลากยา และทักษะการเช็ดตัวลดไข้ มีความมั่นใจในการจัดการภาวะไข้ได้มากขึ้น สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการภาวะไข้และดูแลเด็กที่มีภาวะไข้เฉียบพลันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการขณะเด็กมีไข้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดูแลเบื้องต้นที่บ้านได้ถูกต้องและป้องกันการเกิดไข้ชักก่อนได้รับการรักษาในโรงพยาบาล


 


คำสำคัญ : ผู้ดูแล, การจัดการอาการไข้, ไข้ในเด็ก

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

มัยธัช สามเสน. แนวทางการปฏิบัติในการดูแลเด็กที่มีอาการชักจากไข้ (Febrile seizure). ใน: กาญจนา อั๋นวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการรักษาโรคลมชักหรับหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for epilepsy. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2559: หน้า 58-62.

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. ไข้หรือตัวร้อนในเด็ก [อินเตอร์เน็ต].2563. [เข้าถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2566]; จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=274

จักรพันธ์ ศิริบริรักษ์. ภาวะชักจากไข้ในเด็ก อินเตอร์เน็ต].2563. [เข้าถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2566]; จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/2178/1/1-14.pd

ปาริฉัตร แสนไชย และคณะ. การอบรมความรู้การจัดการอาการไข้ในเด็กสำหรับผู้ปกครอง.เชียงใหม่เวชสาร 2560; 56(2): 97-106.

โรงพยาบาลพระยุพราชท่าบ่อ. รายงานผู้ป่วยใน (IPD) แยกตามแผนกแยกตามตึกเลือกช่วงเวลา 2566-2567. ระบบ HOSxPXE4 โรงพยาบาลพระยุพราชท่าบ่อ.

จักรกฤช ปิจดี, มัณฑนาวดี เมธาพัฒนะ และณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์. บทบาทพยาบาลในการดูแลเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูง. วารสารทหารบก 2563; 22(1): 29-37.

ปิยาทิพย์ วัฒนสุนทร และคณะ. ความรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการจัดการภาวะไข้ในเด็กของผู้ดูแล. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2565; 10(2): 71-86.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power

ฐมาพร เชี่ยวชาญ. (2562). ประสิทธิผลของการสอนด้วยชุดสื่อวีดีทัศน์เรื่องการเช็ดตัวลดไข้ของผู้ดูแลเด็กป่วยแผนกศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ.

เพียงเพ็ญ เดชพร. ความรู้และการจัดการเมื่อเด็กมีไข้ของผู้ปกครองเมื่อเด็กมีภาวะไข้. ชัยภูมิเวชสาร 2559; 36(1): 39-49.

ศุภิสา ลี้มิ่งสวัสดิ์ ยุนี พงษ์จัตุวิทย์ นุชจรี ไชยมงคล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของบิดา มารดาเมื่อเด้กมีภาวะไข้. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 20 (2): 9-20.

เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล. (2560). โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การวิชาการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรีพร ชมบุญ และคณะ. (2561). ผลของการให้ความรู้ผู้ดูแลก่อนจำหน่ายเด็กที่มีภาวะไข้เฉียบพลัน ต่อการเข้ารับบริการซ้ำ โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับ ชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9.

ทัศนียา วังสะจันทานนท์, อ้อมจิต ว่องวาณิช. ประสบการณืในการจัดการอาการไข้ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(4): 117-123.