ผลของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ Effects of using guidelines to prevent postpartum hemorrhage on mothers who give birth normally Thabo Crown Prince Hospital.

Main Article Content

สุดาพร วงษาเนาว์ พย.บ.

บทคัดย่อ

   บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติในห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แม่ที่คลอดปกติ จำนวน 30 คนและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ตามเกณฑ์กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพต่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด แบบแสดงความคิดเห็น และแบบประเมินตามตัวชี้วัดการตกเลือดหลังคลอด โดยมีการตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าเท่ากับ 0.81, 0.90 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการศึกษา พบว่า ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติในห้องคลอด  โดยรวมมีการปฏิบัติการพยาบาลถูกต้องในระดับมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 55.6 เป็นร้อยละ 100.0 ในด้านความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=5.00, SD=0.00) ร้อยละของตัวชี้วัดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกของมารดามีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดผ่านเกณฑ์ และระดับความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 30

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. (2012). WHO recommendations for the prevention and

treatment of postpartum haemorrhage. World Health Organization.

ถวัลย์ วงค์รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, และสมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ. (2553). สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. สมุทรสาคร:

บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

Anderson, J. M., & Etches, D. Prevention and management of postpartum

hemorrhage. International Journal of American Family Physician 2007; 75(6): 875-

สุธิต คุณประดิษฐ์. (2553). “การตกเลือดหลังคลอด.” ใน ถวัลย์วงศ์ รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ และสม

ศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ. (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. (247-266). (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

Ramanathan, G., & Arulkumaran, S. (2006). Postpartum hemorrhage. International

Journal of Gynecology Canada 2006; 28: 967-973.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาตา วิภวกานต์ และ อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตก

เลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ

สาธารณสุขภาคใต้ 2563 ; 3(3): 127-141.

World Health Organization. MPS Technical Update Prevention of Postpartum

Hemorrhage by Active Management of Third Stage of labor. [Online]. Available from:

http://www.who.int/makingpregnancysafer.[Accessed 2015 May 26].

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์มารดาและทารกตายใน

ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

โรงพยาบาลพรุยุราชท่าบ่อ. Service Profile หน่วยงานบริการผู้คลอด โรงพยาบาลพระยุพราช

ท่าบ่อ. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้

จากhttp://www.thabohospital.com/thabo/

ศิริโสภา คำเครือ, ทัศนีย์ ศรีสุวรรณ, รุณราวรรณ์ แก้วบุญเรือง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะ

ตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย

สิ่งแวดล้อมล้านนา 2563; 8(1): 46-57.

พิกุล บัณฑิตพานิชชา, นงลักษณ์ พลแสน และสุภาวดี เหลืองขวัญ. การพัฒนาระบบการพยาบาลใน

การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2560;

(2): 131-144.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธี

ปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรี-วัน.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตก

เลือด หลังคลอด. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]; เข้าถึงได้

จากhttp://www.rtcog.or.th/home

เบญจมาภรณ์ จานทอง. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันการตกเลือด

หลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10

มีนาคม 2566] ; เข้าถึงได้จาก

https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20230411132900_4478/20230411132927_704.pdf

สุทธิพร พรมจันทร์, น้องขวัญ สมุทรจักร, และจรรยา แก้วใจบุญ. ผลการใช้แนวปฏิบัติ ทางการ

พยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด 2 ชั่วโมงหลังคลอด. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2564

;22(2): 69-81.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด : บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน.สมาคม

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยาม

บรมราชกุมารี 2560; 6(2): 146-157.

นภวรรณ มณีจันทร์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือด

หลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต2560; 31(1): 143-155.

จารุพักตร์ สุขุมาลพิทักษ์ และมะลิวรรณ อังคณิตย์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้ระบบ

สัญญาณเตือน เพื่อจัดการภาวะวิกฤติฉุกเฉินก่อนเข้าสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยอายุรกรรม

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารกองการพยาบาล 2566 ; 50 (3) : 125-137.