ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย Factors Associated with Mortality AmongTuberculosis Patients In Nongkhai Hospital at Nongkhai Province.

Main Article Content

ศิรินธร ณ หนองคาย สม.

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2565 โดยใช้รูปแบบ Unmatched case-control เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษา (Case) ที่เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสียชีวิตระหว่างรักษา จำนวน 40 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) ที่เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีชีวิตอยู่ตลอดการรักษา จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการรักษาของโรงพยาบาล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทีละตัวแปรโดยใช้ Simple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds ratio (OR) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุโดยใช้ Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95 (95% CI.) และนัยสำคัญทางสถิติ 0.05                        ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 3.08 เท่าเมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่า 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 3.08; 95% CI = 1.03-9.21) ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้กำกับการกินยา มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 7.51 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยมีผู้กำกับการกินยา ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า (ORadj = 7.51; 95% CI = 2.88-19.57) ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 2.99 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีค่าดัชนีมวลกาย 20 ขึ้นไป (ORadj = 2.99; 95% CI=0.07-8.36) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 9.89 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 9.89; 95% CI= 2.62-37.34) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 3.61 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 3.61; 95% CI = 1.13-11.53) ผู้ป่วยที่มีโรคเลือดร่วมด้วย จะมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 9.34 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ไม่ป่วยโรคเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 9.34 ; 95% CI = 1.60-54.31) ดังนั้น ควรจัดระบบการประเมินความปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเฉพาะราย ตั้งแต่เริ่มต้นรักษาและวางแผนการดูแลผู้ร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชุม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
Research articles

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. 2560. นนทบุรี; สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2023]. เข้าถึงได้จาก: https://online.anyflip.com/kqmza/hklm/mobile/.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559–2563. 2564 กรุงเทพ; สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2023]. เข้าถึงได้จาก https://online.anyflip.com/kqmza/jxfb/mobile/

งานวัณโรค กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรค 2565. 2565

James J Schlesselman. Case-Control Studies Design, Conduct, Analysis. New York: Oxford University press; 1982.

ฑภณ เตียวศิริชัยสกุล, ธวัชชัย เหลืองศิริ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคจังหวัดหนองคาย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2566 .

นภดล วรรณเจริญ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดในคลินิกวัณโรค จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2550; 14(3): 47–55.

โกสินทร์ หลวงละ. การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตระหว่างรักษาวัณโรค ในผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดใหม่และเกิดโรคกลับ [ออนไลน์] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์]. [เชียงใหม่]: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552 [อ้างถึง 15 ตุลาคาม 2016]. สืบค้นจาก: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse1

วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2552–2553. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(1): 22–34.

Yen Y F, Yen M Y, Shih H C, Ho B S, Li L H, Hsiao J C, et al. Prognostic factors associated with mortality before and during anti-tuberculosis treatment. Int J Tuberc Lung Dis. 2013; 17(10): 1310–6. 18, 9740. Available from: https://doi.org/10.3390/ijerph18189740

Dale K, Tay E, Trevan P, Denholm J T. Mortality among tuberculosis cases in Victoria, 2002–2013: case fatality and factors associated with death. Int J Tuberc Lung Dis. 2016; 20(4): 515–23.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, ยงยุทธ์ เม้ากำเนิด, พงษ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม, นันทพร คำมาตา, นพดล วันต๊ะ. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่. พุทธชินราชเวชสาร. 2556; 30(3): 276–85.

พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน, นภาวรรณ สุกรภาส, สุดานี บูรณเบ็ญจเสถียร, วิรัช กลิ่นบัวแย้มและคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 2556; 34(2): 51–62.

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(2) : 74-81

ฐานันดร์ ฐานวิเศษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชศาสตร์. 2563; 40(1): 97-107.

ศิโรตม์ จันทรักษา. ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564; 18(2) : 88-96

Low S, Ang L W, Cutter J, James L, Chee C B E, Wang Y T, et al. Mortality among tuberculosis patients on treatment in Singapore. Int J Tuberc Lung Dis. 2009; 13(3): 328–34.

Richard Avoi, Yau Chun Liaw. Tuberculosis Death Epidemiology and Its Associated RiskFactors in Sabah, Malaysia. International Journal ofEnvironmental Researchand Public Health. 2021

จิรวัฒน์ วรสิงห์, ปรมัติ ศักดิ์แสน, ผลิน กมลวัทน์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2565

Kourbatova E V, Borodulin B E, Borodulina E A, Del Rio C, Blumberg H M, Leonard M K. Risk factors for mortality among adult patients with newly diagnosed tuberculosis in Samara, Russia. Int J Tuberc Lung Dis. 2006; 10(11): 1224–30..

อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(1) : 90-102.

สำราญ ธรรมสาร, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่โรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2550; 13(1): 74–82.