ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุชาวไทพวน ในจังหวัดหนองคาย Factors Related to Self-Care Behaviors among Elderly Thi-Puan of Nong khai Province.

Main Article Content

นวนันท์ กองอุด พย.บ.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ                 


               การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอาย 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทพวน จังหวัดหนองคาย จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชาวไทพวนที่อาศัยอยู่ในบ้านโพธิ์ตาก จำนวน 91 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และข้อมูลพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ โดยค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.70 – 0.80 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติประสิทธิ์สหสัมสัมพันธ์ของสเปียร์แมน


                ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทพวนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅= 2.16, SD = 0.16) โดยพบพฤติกรรมรายด้านการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.12, SD = 0.22) ด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.01, SD = 0.34) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเอง   (𝑥̅ = 2.23, SD = 0.27) และด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 2.36, SD = 0.25) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า 1) ปัจจัยนำในด้านความรอบรู้ทางสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (p-value > 0.05) ส่วนด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับผู้สูงอายุชาวไทยพวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยได้


 


คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ,  ผู้สูงอายุ, ชาวไทพวน


ติดต่อผู้นิพนธ์ : นวนันท์  กองอุด อีเมล : Nawa49@gmail.com

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. (2560). กรมสุขภาพจิตเปิดเวทีวิชาการสุขภาพจิตและ จิตเวชผู้สูงอายุระดับชาติ แนะ ยอมรับ ปรับตัวอยู่อย่างพอดีมีคุณค่า ใช้ 5 สุข ในยุค 4.0. คมชัดลึก [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/288729.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2559). ทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมันคงของมนุษย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.แผนปฏิบัติการสำหรับผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย.การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.

โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ตาก. (2566). ผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ตาก.เอกสารอัดสำเนา.

โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลบ้านหม้อ. (2566). ผู้สูงอายุในตำบลบ้านหม้อ.เอกสารอัดสำเนา.

ไพบูลย์ วิริยะพัฒนไพบูลย์. (2553). ประวัติศาสตร์พวนมาจากไหน. นนทบุรี: เลิศชัยการพิมพ์.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และคณะ. ความสุขของผู้สูงอายุไทยยุค 4.0 ที่อาศัยอยู่ในชุมชนและผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2563; 6(1): 58-70.

โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ตาก,บ้านหม้อ (2566) . ผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ตาก. เอกสารอัดสำเนา.

นัชชา เรืองเกียรติกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารกรมการ

แพทย์. 2565 ; 47(1): 80-86.

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). เรียนรู้ เข้าใจผู้สูงอายุ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ยืนยงการพิมพ์ จำกัด.

พัทธวรรณ ลาน้อย. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้ จาก https://chiangmaihealth.go.th/document/220303164629908442.pdf

ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์ และคณะ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสุขภาพ คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นันทนา พลที. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองเปรง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.govesite.com/uploads/

รังสรรค์ เชตประพันธ์์. ปัจจัยที่มีความสมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิิงห์บุุรี. วารสารการพยาบาลชนนีจักรีรัช. 2564; 1(1): 23.36.

สุขประเสริฐ ทับสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี 2563;3(1).

วัลภา บูรณกลัศ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560 ; 9(2): 25-33.

สุชาดา สมบูรณ์, ศิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ และชมนาด สุ่มเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารเกื้อการุณย์ 2561; 25(1): 141-153.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2002). Health promotion in nursing Practice. (4th Ed.) New Jersey: Pearson Education.

ปิยธิดา คู่หิรัญญรัตน์. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชานเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร.2651; 33(2): 163-160.

กัลยา มั่นล้วน วิภาดา กาญจนสิทธิ์ และ นิภา สุทธิพันธ์. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 . บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธีรนุช ชละเอม. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กาญจนา ปัญญาธร และชลการ ทรงศรี. ศึกษาการดูแลสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลาพัง ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2563;2(2):41-52.

พงศธร ศิลาเงิน (2560).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิภาพร สิทธิสาตร์. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ทักษิณาทิพย์ หมื่นไธสง. (2564). ปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.