ผลการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 ท่า ในผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย Effects of royal massage combined with 4 postures of muscle stretching for Office Syndrome patients of Na Thap Hai Health Promoting Hospital Rattanawapi District Nong Khai Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 ท่า ในผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรค Office Syndrome ได้มาจากเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า แบบบันทึกการวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test
ผลการวิจัย พบว่า การนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 ท่า สามารถลดระดับอาการปวดได้ตั้งแต่หลังการรักษาครั้งที่ 2 ขึ้นไป โดยระดับความปวดระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษาครั้งที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอในท่า ก้มระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษาครั้งที่ 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ท่าเงยและเอียงซ้ายระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษาครั้งที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และท่าเอียงขวาระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษาครั้งที่ 1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
จะเห็นได้ว่า การนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 ท่า สามารถลดระดับอาการปวดและเพิ่มระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอได้ โดยระดับอาการปวดที่ลดลงและระดับองศาการเคลื่อนไหวของคอที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มไปตามจำนวนครั้งของการรักษาที่เพิ่มขึ้น
Article Details
References
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. โรคออฟฟิศซินโดรม [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696
ปาจรา โพธิหัง, นนทกร ดำนงค์,อโนชา ทัศนาธนชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม ในบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564; 14(2): 236-250.
ศรินรัตน์ โคตะพันธ์ และศุภมาศ จารุจรณ. โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 12(2): 135-142.
กิติยา โกวิทยานนท์ และปนตา เตชทรัพย์อมร. เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก Myofascial Pain Syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้าซาวด์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2553; 8: 179-90.
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. โรคออฟฟิศซินโดรม. โรคออฟฟิศซินโดรม [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.msdbangkok.go.th/healthconner_Office%20syndrome.htm
สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2552.
พรีดา จันทร์วิบูลย์ และศุภลักษณ์ ฟักคำ. ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้กามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/300
โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลนาทับไฮ. รายงานผู้ป่วยงานแพทย์แผนไทย ปี พ.ศ. 2564. รัตนวาปี หนองคาย: ผู้เขียน.
สุวภัทร บุญเรือน. ผลของการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2564 ; 14(1) :091-105.
Carreck A. The effect of massage on pain perception threshold. Manipulation therapy,
; 26: 10-6
วิศรุต บุตรากาศ และเบญจมาภรณ์ หาญเจริญกุล. ผลการรักษาของการนวดไทยต่อองศาการเคลื่อนไหวของคอ อาการปวดและความวิตกกังวลในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อบ่า. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด.2562; 31 (1): 9-20.
Vitsarut Buttagat, Wichai Eungpinichpong, Uraiwon Chatchawan, Samerduen Kharmwan,The immediate effects of traditional Thai massage on heart rate variability and stress-related parameters in patients with back pain associated with myofascial trigger points. Journal of Bodywork and Movement Therapies.2011 ; 15(1):15-23.
สรายุธ มงคล กนกทิพย สว่างใจธรรม และวาสนา เนตรวีระ. ผลของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ upper Trapezius: การศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2012 ; 25(1): 87-95.