องค์กรแห่งการเรียนรู้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • กำธร สิทธิบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Research) เพื่อศึกษาระดับของการ
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเรียนรู้ในระดับบุคคล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพังงาหรือโรงพยาบาลพังงา จำนวน 315 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การเรียนรู้ระดับบุคคล ตอนที่ 3 การเรียนรู้ระดับทีม และตอนที่ 4 การเรียนรู้ระดับองค์กร ใช้ใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา และระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้ อธิบายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์องค์กรแห่งการเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้น (Simple linear regression)

ผลการวิจัย พบว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา โดยรวมและการเรียนรู้ในแต่ละระดับ อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ การเรียนรู้ระดับองค์กร (x̅ = 4.06, SD = 0.66) การเรียนรู้ระดับทีม (x̅ = 4.03, SD = 0.66) และการเรียนรู้ระดับบุคคล (x̅ = 3.89, SD = 0.63) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเรียนรู้ในระดับบุคคล ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา คือ การเชื่อมโยงกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม (Community and Its Environment Connection) การสานวิสัยทัศน์ (Shared Vision) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการอบรมในรอบ 2 ปี จึงควรมีนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เริ่มต้นจากการให้ อสม. เข้ามามีบทบาทในการสร้างวิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกัน มีรูปแบบของการจัดการความรู้ที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญเพิ่มกระบวนการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อยกระดับ อสม. เป็น อสม. หมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปี 2565. กรุงเทพมหานครฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กฤศภณ ขุนแก้ว และเสน่ห์ เทพอินทร์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอท่าฟาก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 206-218.

ปราณี มีหาญพงษ์, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์ และเนตรชนก ศรีทุมมา. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง องค์กรแห่งการเรียนรู้คุณภาพชีวิตการทำงานกับผลการดำเนินงานของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 111-124.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 120, ตอนที่ 100, หน้า 3.

พีรเทพ รุ่งคุณากร, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม และศิริณา จิตต์จรัส. (2560). ภาวะผู้นำแห่งการรับใช้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1,103-1,114.

เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 123-135.

Garvin, A. D. (1993). Building a Learning Orgaization. Harvard Business Review, 71(4), 78-91.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Marquardt, M., & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. Burr Ridge: IL: Irwin Professional Pub.

Senge, P. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London: Century Press.

Watkins, V., & Marsick, K. (1994). The Learning organization: An intergrative vision for HRD. Human Resource Development Quarterly, 5(4), 353-360.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31