การกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ไบตุลมาลย์ อาแด
  • เพ็ญ สุขมาก

คำสำคัญ:

อาหารปลอดภัย, การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ, การกลั่นกรอง, การกำหนดขอบเขต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกลั่นกรอง และกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการย่อย 5 คน การประชุมกลุ่มย่อย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผลการกลั่นกรองโดยสาธารณะพบว่า ควรมีการประเมินผลกระทบเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะและเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงโครงการด้านอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี

ผลการกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ พบว่า ขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพด้านอาหารปลอดภัย ตามกรอบออตตาวาร์ชาร์เตอร์ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล 2) ด้านการเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง 3) ด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อ 4) ด้านการสร้างนโยบายสาธารณะ และ 5) ด้านการปรับระบบและกลไก โดยผลการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินโดยสาธารณะจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลกระทบโครงการที่เกี่ยวกับการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2554). กรอบยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 – 2559.กรุงเทพมหานคร

กองสุขาภิบาล สำนักอนามัย.(2561). สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. ค้นหาจากfile:///D:/Master%20Degree/Journal/%E0%

กนกวรรณ เอี่ยมชัย. (2561). กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระดับตำบล จังหวัดพะเยา, วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561.

ปิยธิดา นาคะเกษียร. (2015). กฎบัตรออตตาวากับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ. คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประวิช ขุนนิคม. (2562). การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2562.

เพ็ญจันทร์ มีแก้ว, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร. (2561). การติดตามประเมินสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2561

ศิริลักษณ์ กมลรัตน์. (2019). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษาตาม “แนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลังเขยื้อนภูเขา”, วารสารวิชาการ สถาบันพลศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, เกษศิรินทร์ ภู่เพชร, วิกานดา มหัดอะดั้ม. (2559). ศักยภาพและรูปแบบการจัดการด้านความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา, วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2559

WHO. (1990). Health Impact Assessment Main Concept and Suggested Approach Gothenburg Consensus Paper. Brussels: European Centre for Health Policy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31