กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างยั่งยืน พื้นที่บ้านกุยเลอตอ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
กระบวนการมีส่วนร่วม, พหุภาคี, การจัดการอุบัติเหตุบนท้องถนนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างยั่งยืน พื้นที่บ้านกุยเลอตอ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) ที่ผสมผสานการใช้เทคนิคในกระบวนการพัฒนาหลายวิธี ได้แก่ เทคนิคการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group discussion) เครื่องมือ 5 ชิ้น กระบวนการเทคโนโลยีการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี (Technology Of Participation : TOP) เป็นกระบวนการในการค้นหาแผนงาน / กิจกรรม / โครงการที่ชุมชน และการฝึกปฏิบัติจริง ทำการศึกษาในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านกุยเลอตอ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ พูดคุย การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านเวทีชาวบ้านและศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยกรอบข้อมูลที่ศึกษาจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนชุมชนบ้านกุยเลอตอและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
จากการวิจัย พบว่า ศักยภาพในการจัดการปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นไปในลักษณะ ชุมชนหรือภาคประชาชนเป็นผู้มีบทบาทหลัก บนฐานคิดที่ว่าต้องเชื่อมั่นว่าชุมชนมีศักยภาพเพียงพอในการจัดการปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และที่สำคัญต้องเคารพคนในชุมชนและชุมชนเป็นเจ้าของถนน การเสริมสร้างศักยภาพด้านความปลอดภัยของการใช้รถใช้ถนนในหมู่บ้านกุยเลอตอ ประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ การสร้างองค์ความรู้ การจัดทำแผนการดำเนินงาน และ การสร้างคนและเครือข่าย มีรูปแบบ / กิจกรรมที่ประชาชนบ้านกุยเลอตอจัดให้มีขึ้นในชุมชนบ้านกุยเลอตอในการจัดการปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน คือ กิจกรรมการอบรมเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของชุมชนและค้นหาภาคี กิจกรรมการจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของชุมชนและพหุภาคี และ กิจกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
References
World Health Organization. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization., 2018.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561[บทความทางอินเตอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม; 2562 สิงหาคม [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2562] เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/2kbvTty
Thairsc.com [homepage on the Internet]. Bangkok: ThaiRSC by Technology Information Department [Update 2019 Oct. 12; cited 2019 Oct 12]. Available from: http://www.thairsc.com/
ศราวุฒิ เรือนฝั้น, บรรณาธิการ. สรุปรายงานการประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงาน ศปถ.อ.อุ้มผาง; 30 กันยายน-1 ตุลาคม 2562; ห้องประชุมที่ว่าการอำเภออุ้มผาง ตาก. ม.ป.ท.: 2562.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, สุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.
ศาสตราวุฒิ พลบูรณ. คู่มือนักสืบอุบัติเหตุรถโดยสารขนาดใหญ่. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ;2558.
กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิ์ยอด, ชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา; 14(1): 46-59.
อภิชาต ใจอารีย์. กระบวนการมีสวนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 2559; 36(1): 111-136.
ศิริพร พันธุลี, วัฒนา วณิชชานนท์. การวิจัยและการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพในระดับท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพวะของประชาชนชุมชนแม่ทราย จังหวัดแพร่. แพร่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ; 2555.
ปาริชาติ วลัยเสถียร, พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์, ชลกาญจน์ ฮาซันนารี. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), 2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.