ผลของเกมต่อความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ณัฐสุดา เพชรมาก
  • ตั้ม บุญรอด
  • ดุษณีย์ สุวรรณคง
  • พิชชาดา ประสิทธิโชค
  • วิชชาดา สิมลา

คำสำคัญ:

ความรู้, โภชนาการ, การเล่นเกม, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วน สาเหตุของโรคอ้วน ผลกระทบจากโรคอ้วน พลังงานอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน และการอ่านฉลากสินค้า ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 32 คน เก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เกมที่ใช้ในการสอนความรู้เรื่องพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วน สาเหตุของโรคอ้วน ผลกระทบจากโรคอ้วน พลังงานอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน และการอ่านฉลากสินค้า ซึ่งกิจกรรมที่ออกแบบจัดกิจกรรม 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxon signed rank test และสถิติ Mann-Whitney U

ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้ภายในกลุ่มทดลอง (p<0.001) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

ดังนั้นการใช้เกมเป็นช่องทางสื่อสารความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สามารถก่อให้เกิดโรคอ้วน สาเหตุและผลกระทบของโรคอ้วน พลังงานอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน และทักษะการอ่านฉลากสินค้า มีผลต่อความรู้ในเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถ  นำเกมไปใช้สำหรับการสื่อสารความรู้แก่เด็กวัยเรียนเพื่อการป้องกันภาวะน้ำหนักตัวเกินในเด็กวัยนี้ต่อไป

References

Amaro, S., Viggiano, A., Di Costanzo, A., Madeo, I., Viggiano, A., Baccari, M. E., Marchitelli, E., Raia, M., Viggiano, E., Deepak, S., Monda, M., & De Luca, B. (2006). Kalèdo, a new educational board-game, gives nutritional rudiments and encourages healthy eating in children: A pilot cluster randomized trial. European Journal of Pediatrics, 165(9), 630–635. https://doi.org/10.1007/s00431-006-0153-9

Hermans, R. C. J., van den Broek, N., Nederkoorn, C., Otten, R., Ruiter, E. L. M., & Johnson-Glenberg, M. C. (2018). Feed the Alien! The Effects of a Nutrition Instruction Game on Children’s Nutritional Knowledge and Food Intake. Games for Health Journal, 7(3), 164–174. https://doi.org/10.1089/g4h.2017.0055

Jenny Chang. (2019, July 25). 54 Gamification Statistics You Must Know: 2021/2022 Market Share Analysis & Data. Financesonline.Com. https://financesonline.com/gamification-statistics/

Mack, I., Reiband, N., Etges, C., Eichhorn, S., Schaeffeler, N., Zurstiege, G., Gawrilow, C., Weimer, K., Peeraully, R., Teufel, M., Blumenstock, G., Giel, K. E., Junne, F., & Zipfel, S. (2020). The Kids Obesity Prevention Program: Cluster Randomized Controlled Trial to Evaluate a Serious Game for the Prevention and Treatment of Childhood Obesity. Journal of Medical Internet Research, 22(4), e15725. https://doi.org/10.2196/15725

WHO. (2017). Obesity. https://www.who.int/health-topics/obesity

WHO. (2021). Obesity and overweight. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

กนกวรา, พ., & สานิตย์, ห. (2561). สังคมชนบทไทยสมัยใหม่กับปัจจัยกำหนดวิถีการดำเนินชีวิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), Article 2.

ขนิษฐา กุลกฤษฎา. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และน้ำหนักของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(2), Article 2.

ตนุพล วิรุฬหการุญ. (2022, March 4). “โรคอ้วน” กระทบเศรษฐกิจ 13.2% ของงบประมาณสาธารณสุขทั่วโลก. bangkokbiznews. https://www.bangkokbiznews.com/social/991651

นภาเพ็ญ จันทขัมมา, สุมัจฉรา มานะชีวกุล, อารี ชีวเกษมสุข, พัทยา แก้วสาร, & พรณิศา แสนบุญส่ง. (2563). Effects of a School-Based Overweight Control Program on Primary School Students in Nonthaburi Province. Royal Thai Navy Medical Journal, 47(2), Article 2.

เปรมฤดี ภูมิถาวร. (2556). ‘โรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่น’ โรคร้ายที่ประทุขึ้นในศตวรรษนี้ | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue008/healthy-eating

รำไพ หมั่นสระเกษ. (2563). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน เพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงเรียน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(35), Article 35.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์, & อภิชัย คุณีพงษ์. (2562). The Effectiveness of Health Behavior Modifcation Program among Overweight and Obesity Primary School Students: The Effectiveness of Health Behavior Modifcation Program among Overweight and Obesity Primary School Students. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(1), Article 1.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). องค์การอนามัยโลกแนะเร่งแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). คนไทยเป็น“โรคอ้วน”แนวโน้มพุ่งสูงขึ้น ชี้เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/%

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2565). คนไทยเป็นโรคอ้วน แนวโน้มพุ่งสูงขึ้น เเนะร่วมมือป้องกัน แก้ไข ในวันอ้วนโลก—Thaihealth.or.th

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). Thaihealth.or.Th. http://www.thaihealth.or.th/Content/55922-คนไทยเป็นโรคอ้วน แนวโน้มพุ่งสูงขึ้น เเนะร่วมมือป้องกัน แก้ไข ในวันอ้วนโลก.html

สุชาดา, พ., ยุวยงค์, จ., & อุมาพร, ห. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับภาวะโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4—6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Nursing Journal, 47(4), Article 4.

อรพร ดำรงวงศ์ศิริ. (2563). “โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย. รามา แชนแนล. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/fat-kid/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31