รูปแบบการดำเนินงานตามบทบาทสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหลังการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • รัตน์นริศ สุวรรณรัตน์
  • วีระศักดิ์ เดชอรัญ

คำสำคัญ:

การถ่ายโอนภารกิจ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, รูปแบบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาสถานการณ์ สร้างรูปแบบและศึกษาความเหมาะสมความเป็นไปได้การดำเนินงานตามบทบาทสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหลังการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจง เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 130 คน ประกอบด้วย 1) สาธารณสุขอำเภอ 16 คน 2) ตัวแทนชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย 8 คน 3) ตัวแทน สปสช. 1 คน 4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 108 คน เก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการอภิปรายกลุ่มระยะเวลาเดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบประกอบด้วย 1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วม 2) บันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานร่วมของเครือข่าย 3) กำกับ ดูแลตามมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ 4) แต่งตั้งผู้ประสานงานสาธารณสุขตำบล 5) สนับสนุนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและระบบสารสนเทศ 6) พัฒนาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นหน่วยบริการด้านส่งเสริมสุขภาพหรือบริการด้านแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือกผลการสอบถามความคิดเห็นความเป็นไปได้ ความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นหน่วยบริการ พบว่ารูปแบบหน่วยบริการส่งเสริมสุขภาพ  (gif.latex?\fn_cm&space;\large&space;\bar{x}±SD.; 4.54±0.49) และรูปแบบหน่วยบริการด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก (gif.latex?\fn_cm&space;\large&space;\bar{x}±SD.; 4.47±0.65)  

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรผลักดันรูปแบบดังกล่าว เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายแก่กระทรวงสาธารณสุข    

References

Kemmis, S. & Mc-Taggart, R. (1989). The action research planner. Geelong: Deakin

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”.Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Likert R, A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives. of Psychology. 1932. P.1–55.

Stufflebeam D. L, CIPP Evaluation Model Checklist. Accessed 26 September 2023 from www.wmich.edu/evalctr/checklists.

Stufflebeam, D.L. and W. J. Webster (1989). Evaluation as an Administrative Function, in N.J.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และกองสาธารณสุขท้องถิ่น. “แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.).” ใน แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.), 129. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุช, 2562.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2560). สรุปบทเรียนการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข (WM) ครั้งที่36. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

รุจินาถ อรรถสิทฐ ประสิทธิ์ ลีระพันธ์. สถานการณ์และเงื่อนไขการกระจายอำนาจด้านสุขภาพในท้องถิ่น : กรณีศึกษาจากการพัฒนานำร่องรูปแบบ กสพ. จังหวัดภูเก็ต. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2548.

ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา, และ สลักจิต ชื่นช. การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , 2555.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 17-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01