องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานด้านบทบาทในทีมหมอครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุภัค ติยะประวัติ

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, หมอครอบครัว, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Research) เพื่อศึกษาระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อการปฏิบัติงานด้านบทบาทในทีมหมอครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนพิสัย จำนวน 344 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การเรียนรู้ระดับบุคคล ตอนที่ 3 การเรียนรู้ระดับทีม ตอนที่ 4 การเรียนรู้ระดับองค์กร และตอนที่ 5 การปฏิบัติงานในบทบาทในทีมหมอครอบครัว ใช้ใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา และระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้ อธิบายองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานด้านบทบาทในทีมหมอครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้น (Simple linear regression)

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อยกระดับ อสม. เป็น อสม. หมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปี 2565. กรุงเทพมหานครฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กฤศภณ ขุนแก้ว และเสน่ห์ เทพอินทร์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอท่าฟาก จังหวัดอุตรดิตถ์.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 206-218.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 120, ตอนที่ 100, หน้า 3.

พีรเทพ รุ่งคุณากร, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม และศิริณา จิตต์จรัส. (2560). ภาวะผู้นำแห่งการรับใช้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1,103-1,114.

เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 123-135.

เสาวภาคณ์ เชาวนะสิริยธรรม. (2560). การพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร, วารสารการจัดการสมัยใหม่. 15(2), 57-66.

Civi, E. (2000). Knowledge management as acompetitive asset: A review. Marketing Intelligence & Planning, 18(4), 166-174.

Huselid, M. A. (1995). The impact of human resource management practices on turnover, productivity, and corporate financial performance. Academy of Management Journal, 38(3), 635-672.

Marquardt, M., & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. Burr Ridge: IL: Irwin Professional Pub.

Senge, P. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Press.

Watkins, V., & Marsick, K. (1994). The Learning organization: An intergrative vision for HRD. Human Resource Development Quarterly, 5(4), 353-360.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01