ผลการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • นิธิวดี เก้าเอี้ยน

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง, การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 30 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการให้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพ การดูแลด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจดีกว่าก่อนการให้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.05)

ข้อเสนอแนะ การนำกิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงใช้ ควรดำเนินการให้มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการทำกิจกรรมร่วมกัน

References

ดวงสุภา ก, ใสทา ส. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2021 Jun 30;17(1):52–63.

คุปตะวาทิน ว, วาสนาพงษ์ แ, มิตรสมหวัง พขแ. สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences). 2018;4(Special):444–50.

แสงทอง จ. สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. RUSAMILAE JOURNAL. 2017;38(1):6–28.

ธานีรัตน์ ว, ตันฑสันติสกุล ว. รูปแบบการดำเนินชีวิต และความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2022;10(3):1176–91.

ทหารไทย ก, แซ่ทั่ง จ, ทองเนื้อขาว ช, กาดีโลน ป, ลักติธรรม ส, ดงนะเด็ง ฮ, et al. ความท้าทายในการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่ม Gen X ในอำเภอเมืองจังหวัดตรัง. Journal of Humanities and Social Sciences Review Lampang Rajabhat University. 2021 Dec 30;9(3):40–55.

Chansiri S, Phahuwatanakorn W, Yusamran C. Influences of Breastfeeding Attitude, Subjective Norm, and Self-Efficacy on Intention to Exclusive Breastfeeding among Teenage Pregnant Women: อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. Nursing Science Journal of Thailand. 2017;35(4):49–60.

Rumjaun A, Narod F. Social Learning Theory—Albert Bandura. In: Akpan B, Kennedy TJ, editors. Science Education in Theory and Practice: An Introductory Guide to Learning Theory [Internet]. Cham: Springer International Publishing; 2020 [cited 2024 Jan 29]. p. 85–99. (Springer Texts in Education). Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-030-43620-9_7

Research on the Influence of Collaborative Learning among Bachelor of Education (Management) Students in the University of Cape Coast, Ghana [Internet]. [cited 2024 Jan 29]. Available from: https://www.scirp.org/journal/paperinformation?paperid=113002

จำปาพงษ์ พ. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวและชุมชน ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2018;15(3):85–92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01