ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน โรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • คม ยิบประดิษฐ์
  • ภัทรสุดา สินสวัสดิ์

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวแทนหลังคาเรือนละ 1 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 603 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 148 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.933 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman's correlation coefficient

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค (M=4.11, S.D.=0.43) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (M=4.04, S.D.=0.42) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพ (M=3.89, S.D.=0.35) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค (M=3.82, S.D.=0.43) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (M=3.80, S.D.=0.33) อยู่ในระดับสูง แรงจูงในด้านสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.65, S.D.=0.41) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.40, S.D.=0.36) การรับรู้ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเป็นไปในทิศทางบวก ได้แก่ แรงจูงใจด้านสุขภาพ  มีความสัมพันธ์กับอยู่ในระดับปานกลาง (r= 0.426, p < 0.01) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพ มีความสัมพันธ์กับอยู่ในระดับต่ำ (r=0.317, p < 0.01) และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก (r=0.191, p=0.020)

แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันโรคให้กับประชาชนอย่างเพียงพอ รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดี เพื่อให้ประชาชนมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและทันต่อสถานการณ์การระบาดของโรค

 

References

กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2564). รายงานโรคไข้เลือดออก ปี 2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อำพร สิทธิจาด และธำรงเดชน้อยสิริวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34): 34-48.

ธนกฤติ นุ้ยกูลวงศ์. (2558). พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

บุญประจักษ์ จันทร์วิน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(4), 141-156.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, นรานุช ขะระเขื่อน และวัลลภา ดิษสระ (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกื้อการรุณย์, 29(2), 204-217.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2): 9-18.

พุทธิพงศ์ บุญชู. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านปลอดโรค กับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 79-94.

วีรพงษ์ ชมพูมิ่ง และสวัสดิ์ ดวงใจ. (2562). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 6(3), 47-60.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2566). รายงานประจำปี 2566. กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแหลม. (2566). รายงานประจำปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี: เพชรบุรี.

Bartz, A. E. (1999). Basic Statistical Concepts: Merrill.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1974). The Health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2. Winter: 336-385.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-12