ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพพนักงานบริการหญิง (Female Sex worker) ในเขตพื้นที่ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการสุขภาพ, พนักงานบริการหญิง, ความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพพนักงานบริการหญิง (Female Sex worker) ในเขตพื้นที่ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional descriptive study) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง พนักงานบริการหญิง (Female Sex worker) 447 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ แบบข้อมูลทั่วไป ปัญหาสุขภาพและการดูแลสุขภาพ การรับรู้โอกาสเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย การรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ และการเข้าถึงบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย (simple Logistic Regression) และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)
ผลการวิจัยพบว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพของพนักงานบริการหญิงในภาพรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.85 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพพนักงานบริการหญิง (Female Sex worker) ในเขตพื้นที่ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้แก่ อายุ (ORadj. =3.60, 95% CI = 1.84-7.03) ชาติพันธุ์ (ORadj. =11.84, 95% CI = 4.50-31.12) ประสบการณ์การทำงาน (ORadj. =3.01, 95% CI = 1.02-8.90) โรคประจำตัว (ORadj. =0.04, 95% CI = 0.01-0.15) สถานบริการสุขภาพ (ORadj. =3.36, 95% CI = 1.91-5.90) การเข้าถึงบริการเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย (ORadj. =5.68, 95% CI = 3.09-10.43) การรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ (ORadj. =6.45, 95% CI = 3.96-10.51) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (ORadj. =10.36, 95% CI = 5.81-18.47)
References
กมลพร นิรารัตน์ และอัครนันท์ คิดสม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 7-8 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมพาพันธ์ 2566 https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/PKPS/search_detail/result/20002675
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมและศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม. (2552). คู่มือเพื่อดำเนินงานแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2552 – 2556) สำหรับองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันทรา พรหมน้อย, ประณีต ส่งวัฒนา, เนตรนภา พรหมเทพ, อารีย์ อ่องสว่าง. (2552). ปัญหาและความต้องการด้านอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มหญิงอาชีพพิเศษ : กรณีศึกษา จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2), 97-113
ทิพย์วิมล เดชภูมี และเกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2555). คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของหญิงขายบริการทางเพศในจังหวัดแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,30(3) 122-130
นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, สุวภัทร นักรู้ กำพลพัฒน์, & เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี. (2562).. การรับรู้และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตบริการสุขภาพที่ 10 (hsri.or.th)
ภคอร บอร์แซก, สมหมาย แจ่มกระจ่าง, & ศรีวรรณ ยอดนิล. (2560). วิถีชีวิตหญิงให้บริการทางเพศ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 196-206.
รัชนีวรรณ์ นิรมิต และ บัวพันธ์ พรหมพักพิง (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของหญิง บริการชาวลาวในพื้นที่ชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Social Development and Management Strategy, 21(2), 78-95
วิริยา ถาวรชัยสิทธิ์. (2547). คุณภาพชีวิตของหญิงขายบริการ: ศึกษาหญิงขายบริการมนเขตเมืองพัทยาปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวนีย์ ทองนพคุณ. (2558). สุขภาพทางเพศ: แนวทางการส่งเสริมสุขภาพทางเพศในพนักงานบริการหญิง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 117-125.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2552). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์คณะสาธารณสุขสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Archavanitkul, K and Kanchanachitra Saisoonthorn, P. (2005). Questions and Challenges for Thai Policies on the Health and Welfare of Migrants. [In Thai]. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University
Bulbeck, C. (2008). Sex, Love and Feminism in the Asia Pacific: a cross-cultural study of young people's attitudes. Routledge.
John W. Best. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.