ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลายทราย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ เราะหะวิลัย

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเอื้อ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนหลังคาเรือน จำนวน 129 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามในการวิจัย โดยด้านความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.71 ด้านทัศนคติ ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเอื้อ พฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก และทั้งฉบับ มีค่าแอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.80, 0.85, 0.90, 0.82 และ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 85.27) มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.54) ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 70.54) และแรงจูงใจอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 96.90) สำหรับปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับดี (ร้อยละ 87.60) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.24) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ได้แก่ ปัจจัยเอื้อ และทัศนคติ ซึ่งร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ได้ร้อยละ 22.8 โดยปัจจัยเอื้อมีอิทธิพลไปในทิศทางบวก ส่วนทัศนคติเป็นไปในทิศทางลบ

ข้อเสนอแนะ ปัจจัยเอื้อที่สำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมาจาก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ควรมีการพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมายิ่งขึ้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังคงเป็นพี่เลี้ยงที่สำคัญในการพัฒนา อสม.

References

กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนนด์ดีไซน์.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. นนทบุรี.

กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อำพร สิทธิจาด และธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 34-48.

ธนกฤติ นุ้ยกูลวงศ์. (2558). พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, นรานุช ขะระเขื่อน และวัลลภา ดิษสระ. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกื้อการุณย์, 29(2), 204-217.

ประเทือง ฉ่ำน้อย. (2558). ระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรค ไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา: อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพมหานคร.

พุทธิพงศ์ บุญชู. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านปลอดโรค กับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 79-94.

ภาคภูมิ อุณหเลขจิตร, เจริญชัย อึ๊งเจริญสุข, เจนจิรา นักฆ้อง, อมิตา เหมาเพ็ชร, ณัฐสุดา ฟักเจริญ, ปวีณา วรวงษ์, และคณะ (2562). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนชุมชนคลองถ้าตะบัน ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2566). รายงานโรคติดต่อทางระบาดวิทยา. นครศรีธรรมราช.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพนัง. (2566). รายงานประจำปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

สุรพล สิริปิยานนท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 85-103.

อนุตรศักดิ์ รัชตะฑัต. (2557). แลหน้า..ปัญหาไข้เลือดออก: ความท้าทายระดับประเทศและภูมิภาค 40 ปี ครบรอบวันสถาปนา กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1986). Learning for Mastery Evaluation Comment. Center for the Study of Instruction Program. University of California at Los Angeles.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: an educational and ecological approach. New York: McGraw-Hill.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14