ผลโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพต่อพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มณีเมขลา นาลาบ

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพ, การกำกับตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experiment Research) แบบวัดผลการศึกษาก่อน-หลังการทดลองและติดตามผล (One-group time series design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพต่อพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 45 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 16 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ประเมินความรู้ ความสามารถในการรับรู้ตนเอง ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ พฤติกรรมการควบคุมตนเองในที่การจัดการโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงงอนุมาน Paired Sample t-tests และ Repeated Measures ANOVA  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความรู้ความสามารถในการรับรู้ตนเองความคาดหวังต่อผลลัพธ์ พฤติกรรมการควบคุมตนเองในการจัดการโรคเบาหวานมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 16 ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด FBS น้อยกว่าสัปดาห์ที่ 1 (Mean Difference =37.73 mg/dl; P<0.001; 95%CI = 20.14-55.31) และน้อยกว่าสัปดาห์ที่ 12 (Mean Difference =15.97 mg/dl; (P=0.029; 95%CI = 1.70-30.24) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโปรแกรมในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

References

ณิชกานต์ เต็มราม, นันทิยา พานิชายุนนท์, พจนา ตะเภาหิรัญ, ศุภานัน จำนงค์ และกาญจนา ศรีกุล (2564) ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ.8(2) 237-252.

ปานชีวัน แลบุญมา, และ วัชรพงษ์ บุญจูบุตร. (2564). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพ ภาคเหนือ, 8(2), 87-102.

ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์และดวงกมล ปิ่นเฉลียว. (2558). กลุ่มอาการในระบบต่อมไร้ท่อและการรักษาโรคเบื้องต้น. ในประมวลสาระชุดวิชาการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงการรักษาโรคเบื้องต้น และปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน1 (หน่วยที่13, น. 1-96). นนทบุรี:

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. (2565). แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). อัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน อำเภอคำม่วง ปี 2564-2566. สืบค้นเมื่อ [10 ตุลาคม 2566]. จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1 cfe0155e11&id=589248f2516fbb85d4a4a5605

c3ca1c4.

สิริกานต์ บรรพบุตร, นิรุวรรณ เทรินโบล์ และพิทยา ศรีเมือง. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(2), 168-78.

Bandura, A. (1978). The self-system in reciprocal determinism. Journal of Personality and Social Psychology, 33, 344–358.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: McGraw-Hill.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Routledge.

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support. New Jersey: Prentice Hall.

Leventhal, H., & Johnson, J. (1983). Psychological issues in preventive medicine. In S. B. Levine, L. H. Epstein, & M. A. Johnson (Eds.), Preventive medicine: An annotated bibliography (pp. 3-10). New York: Behavioral Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04