การพัฒนาระบบช่องทางด่วน BEFAST ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จุไร เอกธรรมรักษ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ช่องทางด่วน BEFAST, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

         การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง (Cross- sectional study) เพื่อเพื่อพัฒนาระบบช่องทางด่วน BEFAST ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 1) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระบบบริการช่องทางด่วน BEFAST จำนวน 40 คน 2) เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระบบบริการช่องทางด่วน BEFAST โรงพยาบาลนาบอน ได้แก่ แพทย์ 3 คน พยาบาลวิชาชีพ 10 คน เจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร 3 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน พนักงานห้องบัตร 2 คน พนักงานขับรถ 3 คน จำนวน 23 คน เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่รับบริการ ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลทางคลินิก 3) ส่วนที่ 3 แบบประเมินคัดกรองผู้ป่วย Stroke โดยใช้สถิติเชิงพรรณ (descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ (F) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

         ผลการศึกษา พบว่า ทีมบริหารของโรงพยาบาลนาบอนได้นำระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นพันธกิจหลักของโรงพยาบาลนาบอน การเพิ่มองค์ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ ออกมาเป็น CPG เฉพาะโรค จัดระบบเครื่องมือทางการแพทย์ กำหนดแนวทางการส่งต่อและ ระบบ Consult ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย การซักซ้อมแผนขณะที่มีผู้ป่วย พร้อมทั้งปรับปรุงระบบ หลังการซ้อมแผน จนเป็นแนวปฏิบัติที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาปฏิบัติได้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งเครือข่าย  ผลการศึกษาทางคลินิก พบว่าข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  เป็นกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 64.3  (Range=26-86, M=72.9)  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่มีระดับความดันโลหิต ผิดปกติ ( มากกว่า 140/90 mmHg) ร้อยละ 65.7 เวลาที่เริ่มมีอาการก่อนมาโรงพยาบาลนาบอน 0-30 นาที ร้อยละ 51.4  มีเวลาเฉลี่ย 109.2 นาที (M=109.2, S.D.=231.23) การประเมินเวลาแรกรับ จนถึงการรายงานแพทย์ ส่วนใหญ่ใช้เวลาระหว่าง 1- 10 นาที ร้อยละ 74.3 เวลาเฉลี่ย 10.37 นาที (M=10.37, S.D.=34.64) เวลาแรกรับถึง เวลาที่ Refer เพื่อ ทำ CT ที่โรงพยาบาลแม่ข่ายโรงพยาบาลทุ่งสง ใช้เวลามากกว่า 30 นาที ร้อยละ 85.7 ใช้เวลาเฉลี่ย 11.45 นาที (Range=13-140, M=11.45, S.D.=23.25)

References

กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ.(2020). โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันยังเป็นภาวะการเจ็บป่วยที่มีความเร่งด่วนในการดูแล.วารสารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น .1 (2) .

กิตติมา ดงอุทิศและ นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์.(2564). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ระยะต้น ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience. 17 (4).

จารุวรรณ ปิยหิรัญ. (2563). ความรู้และทักษะที่จำเป็นของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนา 19. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(3), 152-163.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูลและคณะ. (2560).การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 27(2): 80-95.

บดีภัทร วรฐิติอนันต์. (2561). ระบบช่องทางด่วนโรคหลอด เลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม : ความท้าทายก้าวสู่แนวปฏิบัติ ที่ดีเลิศในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.35(2). 17-29.

พัสตราภรณ์ ปัญญาประชุม ธีรนุช ห้านิรัติศัย และสมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใช้ ระบบเครือข่ายการส่งต่อช่องทางด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๔ ประจำ เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐ 540-547.

วรุตม์ ชมพูจันทร์ (2563).การดำ เนินงานระบบเครือข่ายส่งต่อช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ : สู่ก้าวต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience 17 (3).6-21.

วันเพ็ญ วิศิษฎ์ชัยนนท์. (2559). ผลการพัฒนาระบบ Fast Track ของการดูแลผู้ป่วย โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute ischemic stroke) โรงพยาบาลหนองคาย.สืบค้นจาก http://nkh.go.th/nk/KM2017/ICU2.pdf. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566.

ศุภลักษณ์ ชูวงศ์และคณะ. (2565).การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารพยาบาลทหารบก; 23(1) .511-519

สมศักดิ์ เทียมเก่า.(2021). การพัฒนาเครือข่าย STROKR FAST TRACK. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28 (suppl) : 315-319.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุลและคณะ. (2565). รายงานการศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ: Veridian E-Journal, Silpakorn University

World Health Organization. Cardiovascular disease 2008. [Internet]. 2008 [cited 2022 Apirl 10]. Available from: http://www.who.int/cardiovascular_disease/en.htm.

World Stroke Organization. (2022). Learn about stroke. Retrieved from https://www.world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/why-stroke-matters/learn-about-stroke

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-21