ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ชลากร พรหมนิล

คำสำคัญ:

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional research) ครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือ สตรี อายุ 30-60 ปี ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลเชียรใหญ่ จำนวน 234 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไป และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) อธิบายความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้อุปสรรค และแรงจูงใจด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับมาก สำหรับการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับน้อย สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินในเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่า จำนวนบุตร การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์กับการตัดสินในเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj=5.35, 95%CI: 2.12-13.52, ORadj=2.98, 95%CI: 1.20-7.36, ORadj=3.54, 95%CI: 1.59-7.89 และ ORadj=9.10, 95%CI: 2.95-28.05 ตามลำดับ) จึงควรควรมีการรณรงค์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการสร้างการรับรู้ของประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึงกระตุ้นเตือนอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มที่ไม่มีเคยมีบุตร ที่ต้องติดตามการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น

References

World Health Organization; [WHO]. (2021). Cervical cancer. Retrieved January 12, 2024, from https://www.who.int/health-topics/cervical-cancer#tab=ta.

khuhaprema, T.,Attasara, P., Spriplung, H., wiangnon, S., Sumitsawan, Y., Sangrajrang, S., (2012). Cancer in Thailand, Vol.VI, 2004-2006. Bangkok: Bangkok Medical Publisher.

Khuhaprema, T., Sangrajrang, S., Lalitwongsa, S., Chokvanitphong, V., Raunroadroong, T., Ratanachu-ek, T.,.Sankaranarayananet, R. (2014). Organized colorectal cancer screening in Lampang Province, Thailand: Preliminary results from a pilot implementation program.BMJ Open,4(1),e003671.

Imsamran, W., Chaiwerawattana, A., Wiangnon, S., Pongnikorn, P., Suwanrungrung, K., Sangrajrang, S. et al. (2015). Cancer in Thailand Vol. VIII, 2010-2012. Bangkok: Bangkok Medical Publisher.

Rojanamatin, J., Ukranum, W., Supaattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Wongsena, M., Chaiwerawattana, A., Leowahutanont, P. et al. Cancer in Thailand Volume X, 2016- 2018. Retrieved 19 January 2023, from https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/ index.html.

Cancer Registry Unit, National Cancer Institution, Hospital–Based Report 2011- 2020.https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2011- 2020/index.html.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). HDC กระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2566. จาก https://hdcservice.moph.go.th/

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. In M. H. Becker (Ed.), The health belief model and personal health behavior (pp. 82-92). Thorofare, NJ: Charles B. Slack.

อาทิตยา วังวนสินธุ์ และมะลิ จารึก (2564) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยง ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1): 100–113.

สินิสา จันทร์แสง, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และณัฐกมล ชาญสาธิตพร (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต่อเนื่องในการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(1): 1–16.

สงกรานต์ เสือเถื่อน, นงนุช โอบะ และอุมาพร ห่านรุ่งชโรทร (2562) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(3): 80–93.

นันทิดา จันต๊ะวงค์, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธา ศิริ และชาญวิทย์ ตรีเดช (2560) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1): 63-79.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, พัชรี ตันศิริ และกิตติศักดิ์ หลวงพันเทา (2562) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2): 95-108.

เทพกร พิทยาภินันท์, ฤดีดาว ช่างสาน และสมมาศ วิไลประสงค์ (2559) ปัจจัยที่มีผลติการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2): 89-97.

อัสหม๊ะ กือนิ, อัสมะ แยนา, เกรียงศักดิ์ สุขใหม่, สมเกียรติยศ วรเดช และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ (2566) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น, 16(3): 27-39.

กนนที พุ่มสงวน และองค์กร ประจันเขตต์ (2560) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(3): 209-216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22