ผลการใช้แบบประเมินคุณภาพระบบบริการพยาบาลรับส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล ต่อความถูกต้องและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยส่งต่อ ในโรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อธิษฐ์ บัวแก้ว โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แบบประเมินคุณภาพระบบบริการ, พยาบาลรับส่งต่อ, ความถูกต้อง, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยส่งต่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาผลการใช้แบบประเมินคุณภาพระบบบริการพยาบาลรับส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลต่อความถูกต้องและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยส่งต่อ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จำนวน 24 คน และผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่แพทย์มีแผนการรักษาให้ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น จำนวน 50 คน ช่วงระหว่างวันที่ ธันวาคม 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การประเมินแบบประเมินคุณภาพระบบบริการพยาบาลรับส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล ประกอบด้วย ประเมินพนักงานควบคุมยานพาหนะ การเตรียมพร้อมก่อนส่งต่อ การดูแลขณะส่งต่อ และการประเมินความปลอดภัย 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีการประยุกต์และปรับใช้จากการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (2557) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน One sample t-test

ผลการศึกษา พบว่า การประเมินการเตรียมความพร้อมของทีมดูแลผู้ป่วยก่อนการส่งต่อจากโรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ ไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย พบว่า พนักงานควบคุมยานพาหนะ สำรวจความพร้อมของการใช้รถ มีความพร้อม การคาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 100.0 พยาบาลส่งต่อ สำรวจอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีความพร้อมใช้ การคาดเข็มขัดนิรภัยของพยาบาลและพนักงานขับรถ คาดเข็มขัดร้อยละ 98.0 โรงพยาบาลแม่ข่ายที่ส่งต่อ ไม่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการส่งต่อ  ร้อยละ 100.0 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความถูกต้องในการดูแลผู้ป่วยส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย  โดยใช้แบบประเมนที่ผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้น หลังใช้แบบประเมินกับเกณฑ์ร้อยละ 90.0 พบว่า มีคะแนนความถูกต้อง มากกว่า ร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่. นนทบุรี : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย. นนทบุรี : กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือมาตรฐานรถยาบาล กระบวนการปฏิบัติงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยให้ปลอดภัย. นนทบุรี : กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

นุชรี ศรีสุกใส. (2564). การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ.4 (1).84-99.

พรพิไล นิยมถิ่น. (2561). ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อคุณภาพการส่งต่อและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี.26 (3).135-143.

พิไลพร สุรยขันธ์ และ ขัจคเณค์ แพรขาว. (2566) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลระหว่างส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.6(3) .100-113.

วาสิทธิ์ นงนุช, วิศิษฏ์ ทองคำ และ วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล. (2560). การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผุ้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล โรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแขนแก่น.

ศิวาพร แก้วสมสี, นันทิยา วัฒายุ และ นันทวัน สุวรรณรูป. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 29(3).101-112.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2557). การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. นนทบุรี :บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2557). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ของรถพยาบาลฉุกเฉิน PREVENTION. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สุขใจ ช่อรักษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบอัตรากำลังในระบบส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร.

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2564). คู่มือการปฏิบัติด้านระบบส่งต่อผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29