ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุกฤทตา ศรีณะพรม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, แรงสนับสนุนทางสังคม, การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experiment Research) แบบวัดผลการศึกษาก่อน-หลังการทดลอง (One-group design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สัมพันธภาพภายในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงงอนุมาน Paired Sample t-tests ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง ระดับสัมพันธภาพภายในครอบครัวของผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.34 (95% CI = 0.16-0.52, P-value <0.01) การสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.24 (95% CI = 0.43-2.72, P-value =0.01) และการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.47 (95% CI = 0.29-0.65, P-value <0.01) ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการทดลองที่ได้จัดขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมให้ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุทั้งในด้านสัมพันธภาพครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม และการดูแลผู้สูงอายุโดยตรง มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

References

พรเทพ ธาราเวชรักษ์. (2566). ผลการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลน้ำริด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำริด, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุตรดิตถ์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: เอสเอส พลัส มีเดีย.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง 2564-2566. สืบค้นเมื่อ [31 ธันวาคม 2566]. จากhttps://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=

b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=df0700e8e3c79802b208b8780ab64d61

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/1000_UNFPA_rev_Policy%

Brief%20Thai_200411_69.pdf

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือความสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Bandura, A. (1997). Self–efficacy is the exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Best, J. W. (1981). Education research (4th ed.). Prentice-Hall.

Bronfenbrenner, U. (1979). The ecology of human development. Harvard University Press.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Routledge.

Gottlieb, B. H. (1983). Social support strategies: Guidelines for mental health practice. Sage Publications.

Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. R. (2013). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (7th ed.). Saunders.

Hughes, L. C., van Beurden, E. K., Grealy, M. A., & Hughes, J. T. (2021). A systematic review of family carers' experiences of caring for older Australians with chronic disease. Frontiers in Public Health, 9. https://doi.org/10.3389/fpubh.2021.717498

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29