ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
สมรรถนะของพยาบาล, การพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช, โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่นำมาศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 2) คู่มือการเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 3) โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช ประกอบด้วย กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้และฝึกทักษะพยาบาล จำนวน 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t test
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช พบว่า สมรรถนะหลักอยู่ในระดับสูง (M=3.67, SD. = .10) และสมรรถนะเฉพาะงานอยู่ในระดับสูง (M=3.72, SD. = .04) หลังเข้าร่วมโปรแกรมสมรรถนะหลักอยู่ในระดับสูงมาก (M=4.31, SD. = .07) และสมรรถนเฉพาะงานอยู่ในระดับสูง (M=4.17, SD. = .05) ภายหลังเข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช พบว่า สมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะงานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED Triage. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักวิชาการแพทย์, กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED Triage. https://www.dms.go.th/backend/
Content/Content_File/Population_Health/Attach/25621 021104459AM_44.pdf?contentId=18326
กรมการแพทย์. (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักวิชาการแพทย์, กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service plan. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2557). Competency ทำง่ายกว่าได้ผลดีกว่า. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ลิขิต ธีรเวคิน. (2557). การเสริมสร้างสมรรถนะนักบริหารการพยาบาลวิชาชีพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). (2562). แนวปฏิบัติสำหรับหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ ระดับต้นและระดับพื้นฐาน. https://www.niems.go.th/pdfviewer/index.html
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). (2562). รายงานประจําปี 2562. สืบค้นจาก https://www.niems.go.th
/1/Ebook/Detail/10123?group=23
สำนักการพยาบาล. (2556). คู่มือแนวทางการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
อารีย์ เสถียรวงศา (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). https://ir.stou.ac.th/bitstream/123456789/11220/1/fulltext.pdf
Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager: A model for effective performance. John Wiley & Sons.
Campion, M. A., Medsker, G. J., & Higgs, A. C. (1993). Relations between work group characteristics and effectiveness: Implications for designing effective work groups. Personnel Psychology, 46(4), 823–847.
Emergency Nurses Association. (2022). Sheehy’s Manual of Emergency Care-E-Book. Elsevier Health Sciences. https://doi.org/10.1111/j.1744-6570.1993.tb01571.x
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (10th ed.). Wolters Kluwer Health.
Rajeswaran, L. (2016). Developing competencies for emergency nurse practice in Singapore. International Emergency Nursing, 24, 21-24. https://doi.org/10.1016/j.ienj.2015.05.003
Watson, J. (2012). Human caring science. Jones & Bartlett Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.