ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • อนงนิตย์ บัวแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

คำสำคัญ:

บุคลากรสาธารณสุข, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, ส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพจังหวัดกระบี่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพจังหวัดกระบี่ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ด้านส่งเสริมสุขภาพในหน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดกระบี่

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการพยากรณ์ มีนัยสำคัญทางสถิติปัจจัยที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่ ในภาพรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของบุคลากรในระยะยาว หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการเสริมแรงจูงใจด้านผลตอบแทนและสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น ส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคลากรควบคู่ไปกับการส่งเสริมสุขภาพกาย ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สร้างบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนต่อสุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงานอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญ ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการประเมินแผนปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุขสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ 2565. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานผลการประเมินแผนปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุขสู่ความเป็นเลิศ ปีงบประมาณ 2566. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

Aeknarajindawat, N., Aeknarajindawat, N., & Aswasuntrangkul, D. (2020). Role of High? Performance Work Practices on Performance in Pharmaceutical Business in Thailand. Systematic Reviews in Pharmacy, 11, 57-66. https://doi.org/10.5530/SRP.2020.3.07.

Al-Enazi, W., Ahmed, A. S., & Mahanti, A. (2022). Key factors influencing hospital efficiency: A systematic review. BMC Health Services Research, 22(1), 1-14.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bhat, Z. (2011). Impact of Training on Employee Performance: A Study of Retail Banking Sector in India. Indian journal of applied research, 3, 292-293. https://doi.org/10.15373/2249555X/JUNE2013/97.

Dikshit, A., & Jain, T. (2017). Training and Skill Development for Employee Retention and Performance Enhancement in Banks. PSN: Financial Institutions (Topic). https://doi.org/10.2139/ssrn.2984442.

Gibran, N., & Ramadani, D. (2021). The Effect of Training and Career Development on Employee Performance. Almana : Jurnal Manajemen dan Bisnis. https://doi.org/10.36555/almana.v5i3.1680.

Gorla, N., Somers, T., & Wong, B. (2010). Organizational impact of system quality, information quality, and service quality. J. Strateg. Inf. Syst., 19, 207-228. https://doi.org/10.1016/j.jsis.2010.05.001.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Khan, S., & Abdullah, N. (2019). The impact of staff training and development on teachers’ productivity. Economics, Management and Sustainability. https://doi.org/10.14254/JEMS.2019.4-1.4.

Lowe, M. M., Bennett, N., & Aparicio, A. (2009). The role of audience characteristics and external factors in continuing medical education and physician change: effectiveness of continuing medical education: American College of Chest Physicians Evidence-Based Educational Guidelines. Chest, 135(3), 56S-61S.

Lundstrom, T., Pugliese, G., Bartley, J., Cox, J., & Guither, C. (2002). Organizational and environmental factors that affect worker health and safety and patient outcomes. American Journal of Infection Control, 30(2), 93-106.

Misau, M. (2023). Revisiting the Concept of Human Resource Management. Global Academic Journal of Economics and Business. https://doi.org/10.36348/gajeb.2023.v05i03.002.

Platis, C., Reklitis, P., & Zimeras, S. U. L. F. U. R. (2015). Relation between job satisfaction and job performance in healthcare services. PROCEDIA-Social and behavioral sciences, 175, 480-487.

Shojaei, A., Ketabi, R., Razkenari, M., Hakim, H., & Wang, J. (2021). Enabling a circular economy in the built environment sector through blockchain technology. Journal of Cleaner Production, 294, 126352.

Solossa, A. A., Rantetampang, A. L., & Sandjaja, B. (2015). Determinants of employee performance in the health sector in Makassar City. Journal of Management and Business Studies, 2(1), 13-18.

Zubairi, D., & Khan, T. (2018). THE EFFECT OF TRAINING AND DEVELOPMENT ON JOB SATISFACTION, SKILL ENHANCEMENT AND MOTIVATION OF EMPLOYEES. International Journal of Research -GRANTHAALAYAH. https://doi.org/10.29121/granthaalayah.v6.i11.2018.1130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05