ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ทศา รัตนพันธุ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, คุณภาพบริการ, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง (Cross- sectional study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัว ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ที่ขึ้นทะเบียนการรับบริการคลินิกหมอครอบครัวที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี จำนวน 182 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลปัจจัยร่วม และ 3) คุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวของผู้รับบริการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลปัจจัยร่วมของผู้รับบริการที่มารับบริการ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Linear Regression

ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปผู้รับบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.33 เป็นกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 65.93 (Rang 41-100 Mean = 65.63  S.D. 11.59) สถานภาพภาพสมรส หม้าย ร้อยละ 53.85 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 42.86 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน ร้อยละ 66.49 สิทธิหลักประกันสุขภาพ ร้อยละ 92.86 มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 99.45 มารับบริการ 1-5 ครั้งต่อปี ร้อยละ 45.60 เหตุจูงใจในการมารับบริการ เพราะระยะทางใกล้บ้าน ร้อยละ 88.46 ส่วนใหญ่ตรวจรักษาทั่วไป (มาพบตามอาการ) ร้อยละ 65.93 ช่องการได้รับข้อมูลข่าวสาร เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ร้อยละ 61.54 ระดับความคาดหวังของผู้รับบริการที่มาใช้บริการ มีความคาดหวังระดับมากที่สุด ระดับคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวของผู้รับบริการมีคุณภาพบริการระดับมากที่สุดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 74.2 (R2=0.742) โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุดคือ ความคาดหวังด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการตรวจรักษา (Reliability)และความคาดหวังด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ (Empathy)

References

กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2559). แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอ ครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

กัลยา ไชยวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกหมอครอบครัวอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก.สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567

กิตติศักดิ์ แสงทองและคณะ. (2561).ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช.สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567 สืบค้นจาก https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202004/dPckmm7jbUL3MbZD3mKS/dPckmm7jbUL3MbZD3mKS.pdf.

ดุสิดา ตู้ประกาย (2561)การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการดูแลผู้ป่วยนอกในหน่วยบริการปฐมภูมิ ระหว่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ ศูนย์สุขภาพชุมชน ในเขตเมือง จากมุมมองผู้ป่วย. Thammasat Medical Journal:19(1) .77-86.

ดวงดาว ศรียากูล, บวรศม ลีระพันธ์, เกวลิน ชื่นเจริญสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพ (Service Plan) ระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Integrated, People-centered Primary Care). นนทบุรี: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.

ธนะสิทธิ์ รุ่งศิรรัฐพงษ์. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นคลินิกหมอ ครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (ระบบออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นจากจาก http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/880/1/60031480004.pdf

พิมพิมล วงศ์ไชยา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, พินทอง ปินใจ. (2560).การดูแลที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง: บริการสุขภาพในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.; 4(ฉบับพิเศษ):361-S371.

มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์และปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2563). ประเมินผลการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามการรับรู้ของ ประชาชนที่เคยใช้บริการ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.28(3).295-305.

วัสนา ศรีวิชัย. (2561). การสำรวจการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ในจังหวัดตาก: ความคาดหวัง การได้รับบริการสุขภาพ และความพึงพอใจ ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล.บูรพาเวชสาร : 5 (1).64-82.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์และคณะ. (2563).การประเมินผลเบื้องต้น: ประสบการณ์การได้รับการดูแล แบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของผู้ป่วย เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.14(2).143-155.

สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอํานวย, ณัฏฐิญา ค้าผล, น้ำฝน ศรีบัณฑิต, ยศ ตีระวัฒนานนท์. (2560). รายงาน การวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลลัพธทาง เศรษฐศาสตรของนโยบายคลินิกหมอครอบครัว. Ln[8hog,njvเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. สืบค้นจาก http://kb.hsri.or.th/ dspace/bitstream/handle/11228/4804/ hs2375.pdf?sequence=3&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01