ผลการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาล งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา ข้างโต โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

เทคนิค ISBAR, การรับส่งข้อมูลทางการพยาบาล, งานผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาล ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานงานผู้ป่วยใน จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเวรด้วยรูปแบบ ISBAR และการปฏิบัติการส่งเวรภายใต้สถานการณ์จำลอง 2) คู่มือการรับส่งเวรด้วยรูปแบบ ISBAR 3) แบบประเมินคุณภาพการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Wilcoxon signed-rank test.

ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบันทึกข้อมูลการรับส่งเวรด้วยเทคนิค ISBAR หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z= 25.521, p–value. = .021) อุบัติการณ์จากการส่งเวรผิดพลาด ระดับ E ขึ้นไป = 0 ความพึงพอใจต่อการบันทึกข้อมูลการรับส่งเวรด้วยเทคนิค ISBAR โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ควรนําการจัดการการส่งเวรด้วยการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาลไปใช้ปฏิบัติจริงในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทองแสนขัน

References

กนกขวัญ เผ่าทิพย์จันทร์. (2566). การสื่อสารเพื่อการส่งข้อมูลทางการพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. (10 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จาก:http://dirc.nrct.go.th.

กรรณิกา ธนไพโรจน์. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์สำนักการแพทย์. [อินเตอร์เน็ต]. (10 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จาก:http://library.christian.ac.th/thesis/document/T042660.pdf

คณะกรรมการบริหารการพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. (2563). (10 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จาก:http://Nurse.pmk.ac.th/images/WI/PMK-WND- 045.pdf.

เพียงขวัญ แตงอ่อน. (2566). การพัฒนารูปแบบการส่งเวรพยาบาลบนหอผู้ป่วยหญิง. [อินเตอร์เน็ต]. (10 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จาก:http://203.157.186.16/kmblog/page research detail.php?ResID=1089.

มธุรส ตันติเวสส, อารีรัตน์ ขำอยู่, ประนอม โอทกานนท์. (2017). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล สำหรับผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ. The journal of Nursing Burapha University. 5(3):41-51.

รัชนี ศิริวัฒน์, นิตยา โรจน์ทินกร, สุรัตน์ คร่ำสุข, จิราพร พอกพูนทรัพย์, จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2566).การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการพยาบาลแบบไร้รอยต่อโดยใช้ เทคนิค SBAR ในระยะเปลี่ยนผ่านการดูแลงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน นครราชสีมาโรงพยาบาลมหาราช.[อินเตอร์เน็ต]. 2562. (10 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จาก: http://file:/C:/Users/Administrator/Downloads/

อัญชลี สิงห์น้อย และคณะ. (2561). วิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก: วารสารมนุษศาสตร์ มหาลัยนเรศวร; 1-3.

Dunsford J. (2019). Structured communication: improving patient safety with SBAR [abstract]. Nurse Women’s Health, 13(5):384-90.

Kotsakis A. Mercer K. Mohseni-Bod H. Gaiteiro R. Agbeko R. (2015). The development andimplementation of an inter-professional simulation based pediatric acute care curriculum forward health care providers [abstract]. Journal of Interprofessional Care.29(4):392-4.

The Health Care Accreditation Institute (Public Organization). (2018). Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand. Bangkok: Famous and Successful; 2018. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-16