แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสม, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 171 คน ที่สุ่มเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.85) มีอายุเฉลี่ย 47.41 ปี ระดับ HbA1C เฉลี่ยอยู่ที่ 6.41 โดยร้อยละ 69.59 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี สำหรับระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานในระดับปานกลาง สิ่งชักนำให้ปฏิบัติอยู่ในระดับสูง และการรับรู้อุปสรรคส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงเช่นกัน ผลการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานในระดับสูง (Adjusted OR = 2.71, p < 0.001) และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติในระดับสูง (Adjusted OR = 2.22, p < 0.001) มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่การรับรู้อุปสรรคและโอกาสเสี่ยงไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสริมสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรค และการส่งเสริมแรงสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรสุขภาพ มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน จึงควรนำไปพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
References
ขนัตยา พวงมาลี, & พรพิมล ชูพานิช. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(4), 92–104.
จันทนา จิตต์อารี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 31(1), 45–56.
จันทนา จิตต์อารี. (2563). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 45–56.
จิตติพร ศรีษะเกตุ, พรพิมล ชัยสา, อัศนี วันชัย, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, & วิริยา โพธิ์ขวาง ยุสท์. (2560). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารมรดกวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(2), 156–168.
ธนิดา ทองแสง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคกับพฤติกรรมการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์, 4(2), 101–113.
พรพิมล อุลิตผล. (2561). การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถในตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 441–452.
ภัทรวดี สมบูรณ์. (2562). การรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(3), 67–75.
เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก, & คณะ. (2553). การรับรู้ความเสี่ยงและการป้องกันโรคเบาหวานในญาติสายตรงของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(2), 30–42.
วนิดา คู่เคียงบุญ, นันทยา นนเลาพล, พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์, สิโรนี ฟองแก้ว, & ไขพร อุ่นเทียน. (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 80–91.
ศิริกุล ศรีหนา. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้การสื่อสารทาง Line ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 35(2), 10–23.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2566). รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2566. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2561). การจัดการโรคเบาหวานในประเทศไทย: ผลกระทบและความท้าทาย. วารสารการแพทย์ไทย, 98(1), 12–18.
สมบูรณ์ เกษมสันต์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 22–34.
สมนึก เกษตรโยธิน. (2560). การรับรู้ความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานกับพฤติกรรมการมาตรวจสุขภาพ. วารสารสุขภาพชุมชน, 23(2), 115–124.
สมนึก เกษตรโยธิน. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 1–12.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. เข้าถึงจาก https://www.hsri.or.th
สุกัญญา แซ่ลี้. (2551). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือก
อักเสบของนักเรียน. วารสารสาธารณสุขชุมชน, 14(1), 23–35.
สุนิสา แซ่ลิ้ม. (2565). การรับรู้ความรุนแรงของโรคและแรงจูงใจภายในที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสุขศึกษา, 46(1), 22–33.
สุรากรี หนูแบน, สุภาภรณ์ แสงนุ่ม, & วัชรีพร จันทร์แจ่ม. (2559). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 22–33.
Bond, G. E., Burr, R. L., Wolf, F. M., & Feldt, K. (2002). The effects of a web-based intervention on the physical activity and nutrition behaviors of persons with type 2 diabetes: A randomized trial. Preventive Medicine, 34(1), 45–52. https://doi.org/10.1006/pmed.2001.0951
Glanz, K., Rimer, B. K., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health education: Theory, research, and practice (4th ed.). John Wiley & Sons.
Khumkaew, P., Pongmesa, T., & Sritabut, B. (2012). Factors affecting self-management behaviors among Thai patients with type 2 diabetes. Journal of Nursing and Health Sciences, 4(2), 120–128.
Pongmesa, T., Khumkaew, P., & Sritabut, B. (2019). Effect of health education and support on self-management behaviors among type 2 diabetic patients in Thailand. Journal of Public Health and Development, 17(1), 80–92.
Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs, 2(4), 328–335. https://doi.org/10.1177/109019817400200403

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.