ประสิทธิผลของสื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • สุเมธ จริงจิตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบ, แบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มวัยทำงานก่อนและหลังการใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบ 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพก่อนและหลังการใช้สื่อ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกก่อนและหลังการใช้สื่อ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี ในตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 60 คน เลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบทดสอบความรู้ 4) แบบสอบถามการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ และ 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบจับคู่ และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 8.92 เป็น 13.05 คะแนน (p < 0.001) การรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (3.33) เป็นระดับสูง (3.94) ในทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการรับรู้โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากที่สุด (1.23) และการรับรู้อุปสรรคลดลง (0.79) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (2.40) เป็นระดับสูง (3.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพฤติกรรมการป้องกันยุงกัดเพิ่มขึ้นมากที่สุด (0.93) นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรค (r = 0.665, p < 0.01) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์สูงสุด (r = 0.712, p < 0.01)

References

กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2562. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/dvb/pagecontent.php?dept=dvb&page=17

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อำพร สิทธิจาด, และ ธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัด สมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 34–48.

ทิพย์รัตน์ วรารัตน์, รอดเนียม จรูญรัตน์, ไกรนรา พอเพ็ญ, และ วรรธนะพงษ์ อรจิรา. (2567). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 12(1), e273857. https://www.tci-thaijo.org/index.php/scnet/index

ภาวิณี มนตรี, เดชา สุคนธ์, ยุทธนา กลิ่นจันทร์, อุดมลักษณ์ ทองหล่อ, และ อภิวรรณ เหลืองเทียมทอง. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของแกนนำครัวเรือนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 514–524. https://doi.org/10.14456/

dcj.2022.44

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, กนกพรรณ พรหมทอง, และ มนตรี รักภักดี. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(5), 72–84.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2567). สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดตรัง. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/127950

สิโรดม มณีแฮด, และ สิรัญญา เชื้อทอง. (2563). การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้เรื่องเล่าอินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19. วารสารการสื่อสารมวลชน, 8(2), 91–111.

Bandura, A. (2004). Health promotion by social cognitive means. Health Education & Behavior, 31(2), 143–164.

Baxter, M. (2022). Improving the effectiveness of public health infographics through design principle application (Doctoral dissertation, University of Leeds). University of Leeds Repository.

Featherstone, J. D. (2014). Visual communication and health behavior: The role of infographics in promoting health literacy. Journal of Visual Communication in Medicine, 37(2), 56–64. https://doi.org/10.3109/17453054.2014.898752

Janz, N. K., & Becker, M. H. (1984). The Health Belief Model: A decade later. Health Education Quarterly, 11(1), 1–47.

Kong, H. K., Zainab, F., Turner, A. M., Bekemeier, B., & Backonja, U. (2025). Trends in and effectiveness of infographics for health communication: A scoping review. Health Communication, 40(2), 222–232. https://doi.org/10.1080/10410236.2024.2342595

Pan American Health Organization. (2019). Epidemiological update: Dengue. Retrieved from https://www.paho.org/sites/default/files/2019-10/2019-sept-13-phe-dengue-epi-update.pdf

Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2(4), 328–335.

Tan, A., Koh, E., Sankari, U., Tang, J., Goh, C. K., & Tan, N. C. (2022). Effects of a serious game on knowledge, attitude and practice in vector control and dengue prevention among adults in primary care: A randomised controlled trial. Digital Health, 8, 20552076221129099. https://doi.org/10.1177/20552076221129099

Wong, L. P., et al. (2020). Interactive infographics for dengue prevention: A randomized controlled trial in Malaysia. PLOS Neglected Tropical Diseases, 14(8), e0008470. https://doi.org/10.1371/journal.pntd.0008470

World Health Organization. (2019). Dengue and severe dengue. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/dengue-and-severe-dengue

World Health Organization. (2023). Combating dengue outbreak and addressing overlapping challenges with COVID-19. Retrieved from

https://www.who.int/thailand/news/detail/30-06-2023-combating-dengue-outbreak-and-addressing-overlapping-challenges-with-covid-19

Yakasaem, T., et al. (2025). Seroprevalence and preventive practices of dengue and chikungunya among school children in Bangkok. medRxiv. https://doi.org/10.1101/2025.04.03.25325161

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-13

How to Cite

จริงจิตร ส. . (2025). ประสิทธิผลของสื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 3(1), 124–140. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4228