การพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสู่การเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในชุมชนตำบลคำแมด อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณภัทรพงษ์ หงษีทอง โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่าย, การเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ ศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและการเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในชุมชนตำบลคำแมด อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น เป็นการผสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งการวางแผน ลงมือปฏิบัติงาน สังเกตและติดตามประเมินผล ตลอดจนการสะท้อนผลลัพธ์ ยึดหลัก 5ส 5ช พร้อมกับการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ 5 ชิ้น ผู้ร่วมวิจัย คือ ภาคีเครือข่าย และกลุ่มเป้าหมายหลัก

ผลการวิจัย พบว่า ภาคีเครือข่ายทราบและตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนมากขึ้น พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการแก้ไขปัญหา โดยมี 7 รูปแบบการเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในชุมชน ได้แก่ (1) การสร้างธรรมนูญสุขภาพตำบลคำแมด (2) ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์รณรงค์ลดการเกิดอุบัติเหตุ (3) ติดป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์การขับขี่ปลอดภัย (4) การอบรมแกนนำเยาวชนเพื่อการขับขี่ปลอดภัย (5) การอบรมนักเรียนสุภาพบุรุษไม่ซิ่ง เปิดโรงเรียน เปิดโรงรถ (6) งานศพ งานบุญปลอดเหล้า และ (7) การตัดต้นไม้ ปรับปรุงภูมิทัศน์ แก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน โดยหลังปฏิบัติการ แกนนำเยาวชนมีความรู้ในการขับขี่ปลอดภัยสูงขึ้น มีพฤติกรรมในการขับขี่ปลอดภัยดีขึ้น นักเรียนสุภาพบุรุษไม่ซิ่งแก้ไขรถจักรยานยนต์กลับสู่สภาพเดิมครบทุกคัน มีงานศพปลอดเหล้า 10 งาน ไม่มีอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

การเข้าถึงชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งด้านข้อมูลเชิงพื้นที่ และความร่วมมือของชุมชน ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริง โดยอาจใช้เทคนิคที่หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563. ม.ป.ท.: กรม.

กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด และอชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนอโดยการมีส่วนร่วมของพหุพาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 46-59.

ธีรยุทธ์ ลีโคตร, สีดา สอนศรี และ ยุพา คลังสุวรรณ์. (2558). บทบาทของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษา บ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 5(2), 112-129.

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด. (ม.ป.ป). รายงานอุบัติเหตุทางถนน (ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด). ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.thairsc.com/p77/index/40

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, พิริยา ซิ้มเจริญ และ พรชัย จันทร์ถาวร. (2555). แนวทางการศึกษาการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนของเมือง: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง (JARS), 9(1), 61-81.

มูลนิธิไทยโรดส์. (2560). พิมพ์เขียวแนวทางการจัดการความเร็วเพื่อความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย. ม.ป.ท.: มูลนิธิ.

มูลนิธิไทยโรดส์. (2562). รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย 2559-2560. ม.ป.ท.: มูลนิธิ.

โรงพยาบาลซำสูง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอซำสูง.

ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน. (ม.ป.ป.ก). บทเรียนการพัฒนากลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนน ศปถ.อปท.โมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช. ม.ป.ท.: ศูนย์วิชาการ.

ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน. (ม.ป.ป.ข). เครื่องมือ 5 ชิ้น ที่ทำให้การขับเคลื่อนกลไก ศปถ. ไปสู่ผลลัพธ์. ม.ป.ท.: ศูนย์วิชาการ.

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ. (2563). กว่า 20,000 ชีวิตต่อปี จะประเมินความสูญเสียอย่างไร. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.accident.or.th/index.php/2017-11-03-04-01-18/245-2020-07-22-09-18-53

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (ม.ป.ป.). รายงานอุบัติเหตุทางถนน (ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น). ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563, จาก https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-08