ประสิทธิผลของการใช้ Warning Signs Card ต่อความรู้สัญญาณเตือน และแนวทางปฏิบัติในการจัดการ เมื่อเกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลันของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ตำบลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2021.3คำสำคัญ:
การใช้ Warning Signs Card, การจัดการเมื่อเกิดอาการของโรค, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โรคสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลันบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการ์ดแผ่นสื่อสารเตือนภัย (Warning Signs Card) ต่อความรู้สัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันและการจัดการของผู้ป่วยและญาติ เมื่อเกิดอาการของกลุ่มเสี่ยงในตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจากคลินิกโรคเรื้อรังในศูนย์สุขภาพชุมชน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2561 จำนวนทั้งหมด 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงของ CV Risk Score ระดับ 4 และ 5 จำนวนกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัด ประสิทธิผลของเครื่องมือและกระบวนการของ Warning Signs Card แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และ (2) แบบประเมินความสามารถด้านการรับรู้และการปฏิบัติเมื่อมีอาการของโรค วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้สัญญาณเตือน และ แนวการปฏิบัติตัวในการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การใช้ Warning Signs Card ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สัญญาณเตือน และมีแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นในการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน โดยพบว่าร้อยละ 86.9 ของ 2 กลุ่มตัวอย่างจะโทรศัพท์แจ้งเหตุ 1669 ขณะที่ก่อนได้รับความรู้ส่วนใหญ่จะไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน คิดเป็นร้อยละ 77.2 และพบว่าคะแนนความรู้สัญญาณเตือนและแนว การปฏิบัติตัวในการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันหลังได้รับความรู้การใช้เครื่องมือ Warning Signs Card มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสรุป การใช้ Warning Signs Card มีประสิทธิผลต่อความรู้สัญญาณเตือน และแนวทางปฏิบัติในการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแลมีความรู้ ตระหนักถึงอาการและรับรู้อาการที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที รู้วิธีการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรค และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทันที ทำให้ได้รับการดูแลในช่วงก่อนถึงโรงพยาบาลอย่างถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จึงควรมีการพัฒนานำ Warning Signs Card ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ความรู้เรื่องสัญญาณเตือนของโรค และแนวทางปฏิบัติในการจัดการเมื่อเกิดอาการ เพื่อขยายผลในผู้ป่วย CV risk score ระดับ 3 และควรเพิ่มการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ ในการใช้ Warning Signs Card เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจและสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
References
World Heart Federation. World Heart Day Campaign 2015 [Internet]. 2014. [cited 2021 May 11]. Available from: http://www.world-heart-federation.org/whatwe-do/awareness/world-heart-day-2015/
กระทรวงสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์ วันหัวใจโรคปี พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้น เมื่อ 10 พ.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://thaicd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php
Zafari AM, Yang EH. Myocardial infarction [Internet]. 2011 [cited 2021 Apr 28]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/155919-overview#a0156
Lopez AD, Mather CD, Ezzati M. Global and regional burden of disease and riskactors. Lancet 2006; 367: 1747-57.
World Stroke Day. World Stroke Day 2010 [Internet]. 2010. [cited 2021 Apr 28]. Available from: http://www.worldstrokecampaign.org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay2010. aspx.1832
Poungvarin N. Stroke in the developing world. Lancet 1998; 352: 19-22.
พรภัทร ธรรมสโรช, เพิ่มพันธุ์ ธรรมสโรช. ประสาทวิทยา ทางคลินิก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน ผลการประเมินยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้านของ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 11 พ.ค. 61]. แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/node/91
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สาขาหัวใจ เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช; 2561.
ลาวัลย์ เวทยาวงศ์, ดาราวรรณ รองเมือง, จีราพร ทองดี, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, ผกามาศ รักชาติ. คณะการจัดการอาการ ของประชาชน ต. ปากหมาก จ. สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 1: 86-101.
ประไพ กิตติบุญถวัลย์, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา. การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556; 3: 132- 41.
ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ. Development of Thai risk score. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.