ความท้าทายของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2021.7คำสำคัญ:
ความท้าทาย, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อปลายปี พ.ศ.2562 นำมาสู่การ แพร่ระบาดในประเทศไทยโดยส่งผลกระทบต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศและกลายเป็นความท้าทายใหม่ซึ่งระบบจำเป็น ต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน ในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และระลอกที่สองในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ระบบการแพทย์ฉุกเฉินยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากจำนวน ผู้ติดเชื้อที่ยังควบคุมได้ การดำเนินการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจึงเน้นไปที่การเตรียมการและการป้องกัน การติดเชื้อสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานในช่วงของการระบาดในระลอกที่สามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้รับ ผลกระทบมากขึ้นอย่างยิ่งยวดและถูกกำหนดด้วยพันธกิจ 3 ข้อ คือ (1) การดำเนินกิจการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านหมายเลข ฉุกเฉิน 1669 ให้ได้อย่างต่อเนื่อง (2) รับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รอการนำส่งจากบ้านหรือที่พักไปยังโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม และ (3) การสนับสนุนการฉีดวัคซีนและเตรียมการรองรับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนจำนวนมากทั้งประเทศ จาก สถานการณ์ระบาดที่ผ่านมาพบว่าระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยดีด้วยการ ระดมทรัพยากรและบุคลากรอาสาสมัครนอกระบบบริการเข้ามาช่วยเสริมให้ภารกิจเดินหน้าต่อไปได้ ไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อ ระบบบริการประชาชน แต่มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โดยเพิ่มระบบการป้องกันตนเอง
References
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. รายงานการประชุมคณะกรรมการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 3/2560; 20 มิถุนายน 2560, ตึกบัญชาการชั้น 3 ทำเนียบ รัฐบาล. กรุงเทพมหานคร: ทำเนียบรัฐบาล; 2560.
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่น พ.ศ.2560. ราชกิจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนพิเศษ 279 ง (ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560).
อุรา สุวรรณรักษ์, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2561.
ข้อบังคับคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินว่าด้วยการกำหนดผู้ปฏิบัติการการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาหรือ ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ และการให้ประกาศนียบัตรหรือ เครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที 137, ตอนที่ 86 ง ตอนพิเศษ (ลงวันที 24 เมษายน 2563).
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์วิธีการ และแนวทางปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษที่ออกปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์ วิธีการและแนวทางปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ ที่ออกปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์ วิธีการและแนวทางปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ ที่ออกปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์ วิธีการและแนวทางปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ ที่ออกปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์ วิธีการและแนวทางการรับรองมาตรฐานชุดปฏิบัติการ/ หน่วยปฏิบัติการ (ชั่วคราว) และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (ชั่วคราว) เพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 พ.ศ.2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.