ประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย ที่มารับบริการแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลแสวงหา

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ เรือนทองดี งานอุุบัติเหตุฉุุกเฉินและนิติเวช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแสวงหา

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การให้ความรู้, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, 1669

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้สูง การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูและละลกระทบที่เกิดขึ้น การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเพิ่มความรู้และการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยในช่วงเวลาสำคัญก่อนการเข้ารักษาในโรงพยาบาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลองโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงระบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบอร์โทร 1669 ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะอยู่นอกโรงพยาบาล การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับบริการแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลแสวงหาจำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2567 ถึงเดือนมินิมินายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคหลอดสมองของผู้ป่วยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p:0.05) โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการให้สุขศึกษาเท่ากับ15.86 (SD=4.8) และหลังการให้สุขศึกษาเท่ากับ 19.23 (SD-2.07) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้มีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่การเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตจากโรคเลือดสมอง

References

(1) The University of Texas Health Science Center at Houston. Stroke Symptoms2024 [Website]. American Heart Association; 2024 [cited 2024 Oct 18]. Available from: https://www.stroke.org/en/about-stroke

(2) ศิครินทร์ กรุงเทพ. เพราะทุกนาทีคือชีวิต [Website].2562. [สืบค้นเมื่อ 18 ต.ค. 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.sikarin.com

(3) World Stroke Organization. World Stroke Day 2022 [Website]. World Health Organization Country Office for Sri Lanka; 2022 [cited 2024 Oct 13]. Available from:

https://www.who.int/srilanka/news/detail/29-10-2022-world-stroke-day-2022

(4) กองโรคไม่ติดต่อ. รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลกปี 2566. [ออนไลน์]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2567]. แหล่งข้อมูลhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=37914&deptcode=brc&news_views=4675

(5) คลังข้อมูลสุขภาพ.ข้อมูลอัตราผู้ป่วยรายใหม่จากโรคหลอดเลือดสมองปี 2567.[เว็บไซต์].2567. [สืบค้นเมื่อ 16 ต.ค. 2567]. แหล่งข้อมูลhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=39fd60c25235db479930db85a0e97dd3&id=b184366d9fa112292f8374184b21e1a8

(6) สาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง.ข้อมูลอัตราผู้ป่วยรายใหม่และข้อมูลการตายจากโรคหลอดเลือดสมองปี 2563-2566.[เว็บไซต์].2566. [สืบค้นเมื่อ 16 ต.ค. 2567]. แหล่งข้อมูลhttps://atg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=39fd60c25235db479930db85a0e97dd3&id=fc4ef4b0a87cd045a5d9defa44f15de8

(7) โรงพยาบาลแสวงหา. สถิติเวชระเบียน ปี 2563. อ่างท่อง: โรงพยาบาลแสวงหา; 2563.

ภคพร กลิ่นหอม, จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์, เอกรินทร์ อ่วมอุ่ม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อ

พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ [อินเทอร์

เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2567].6(2):102-18. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/259867

บุณยนุช บานเย็น, วารุณี สุดตา. การรับรู้ภาวะหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะขามล้ม จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 (สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2567];13(1):93-101. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/239955/165674

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27