การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • สุคนธา จิ๋วนารายณ์ กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร
  • หนึ่งฤทัย กองวัฒนาสุภา กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยอุบัติเหตุ, การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยแผนกฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การคัดแยกประเภทผู้ป่วย (Triage) เป็นระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยแบ่งตามความรุนแรงของการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ เพื่อจัดลำดับของการรักษาพยาบาล ความถูกต้องของการคัดแยกจะทำให้ผู้ป่ วยได้ประโยชน์สูงสุด
ลดอัตราการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการคัดแยกประเภท
ผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร ดำเนินการศึกษาในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่ วย (3) นำรูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยไปใช้ และ (4) ศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย เก็บข้อมูลจากกลุ่มที่ตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบ โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง และตรวจสอบความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยโดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-squared test และ Student’s t-test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ KPH Triage Model ซึ่งมีการให้ความรู้ แบบบันทึกการคัดกรอง และเป็นแอปพลิเคชันที่ชี้นำข้อมูลสำคัญที่ต้องประเมิน และเมื่อกรอกข้อมูลที่ประเมินได้จะแสดงผลการคัดแยกได้อย่างถูกต้อง เมื่อนำ KPH Triage Model ไปใช้ พบว่าความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีความถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.5 เป็น ร้อยละ 96.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดแยกผู้ป่วยทั้งหมด มีความพึงพอใจในระดับปานกลางถึงสูง โดยสรุป การพัฒนารูปแบบคัดกรองสำหรับหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยใช้ KPH Triage Model มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ดังนั้นควรมีการขยายผลการใช้รูปแบบคัดกรองนี้ในโรงพยาบาลอื่นๆ รวมถึงควรมีการติดตาม ประเมินผลในระยะยาว เพื่อศึกษาความยั่งยืน

References

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข. 2561

Improving patient flow and reducing emergency department crowding: a guide for hospitals. Available at: https://www.ahrq.gov/sites/default/ files/publications/files/ptflowguide.pdf. Retrieved April 17, 2018

Fry, M, Bucknall, T.K. Review of the triage literature: Past, present, future? Aust Emerg Nurs J 2002; 5(2): 33-8

Fernandes, C. M., Tanabe, P., Gilboy, N., Johnson, L. A., McNair, R. S., Rosenau, A. M., . . . Suter, R. E. (2005). Five-level triage: a report from the ACEP/ENA five-level triage task force. Journal of Emergency Nursing, 31(1), 39-50. doi: 10.1016/j.jen.2004.11.002

Holroyd, B. R., Bullard, M. J., Latoszek, K., Gordon, D., Allen, S., Tam, S., . . . Rowe, B. H. (2007). Impact of a triage liaison physician on emergency department overcrowding and throughput: A randomized controlled trial. Academic of Emergency Medicine,14(8), 702-708. doi: 10.1197/j.aem.2007.04.018

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สืบค้นจาก

https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/255609301415116117ETGSsAcX8Jpn1XPQ.pdf

Sax DR, Warton EM, Mark DG, et al. Evaluation of the Emergency Severity Index in US Emergency Departments for the Rate of Mistriage. JAMA Netw Open. 2023;6(3):e233404. Published 2023 Mar 1. doi:10.1001/jamanetworkopen.2023.3404

Stang AS, Crotts J, Johnson DW, Hartling L, Guttmann A. Crowding measures associated with the quality of emergency department care: a systematic review. Acad Emerg Med. 2015;22(6):643-656. doi:10.1111/acem.12682

Pines JM, Griffey RT. What we have learned from a decade of ED crowding research. Acad Emerg Med. 2015;22(8):985-987. doi:10.1111/acem.12716

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. (2564). การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(36). 160-178.

Considine, J., Charlesworth, D., & Currey, J. (2014). Characteristics and Outcomes of Patients Requiring Rapid Response System Activation Within 24 Hours of Emergency Admission. Critical Care and Resuscitation, 3(16), 184-189.โรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2565.

Wibulpolprasert A, Sittichanbuncha Y, Sricharoen P, Borwornsrisuk S, Sawanyawisuth K. Factors associated with overcrowded emergency rooms in Thailand: a medical school setting. Emerg Med Int. 2014; 2014:576259. doi:10.1155/2014/576259

ณัฏฐิกา แซ่แต้ และพัชรินทร์ นะนุ้ย. 2565. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่าย โรงพยาบาลยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 9(1). 149-161.

อาจารีย์ พรหมดี ปฏิพร บุณยพัฒน์กุล และพรศิริ กนกกาญจนะ. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุ. วชิรสารการพยาบาล. 19(1). 19-32.

Paul A. The Deming Cycle [Internet]. 1998 [cited 2019 Nov 6]. Available from: http://www.balancedscorecard.org/bkgd/pdca.html

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. 2561. เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561 (Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018). สืบค้นจาก http://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2019/05/safety-goals.pdf

โรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2565. รายงานประจำปี 2565 โรงพยาบาลกำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.kph.go.th/html/attachments/article/4484/%รายงานประจำปี%202565%20.pdf

รัฐพงษ์ บุรีวงษ์ (บรรณาธิการ). 2561. MOPH ED. Triage. สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://nktcph.go.th/attachments/article/133/กระบวนการคัดกรอง 20_Ttiage_MOPHEDTRIAGE.pdf

กนกอร ไชยปัญหา อารีรัตน์ บุษย์ศรีเจริญ อุบลรัตน์ เย็นชุ่ม และปนัดดา บุญพุ่ม. 2565. อุบัติการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสม ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. 26(1). 26-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29