แนวโน้มความรุนแรงในหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินกับความปลอดภัยของพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สมัคร ใจแสน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • ไพรินทร์ พัสดุ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

ความรุนแรง ; หน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ; ความปลอดภัยของพยาบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มความรุนแรง และความปลอดภัยของพยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างปลอดภัย โดยสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีผู้รับบริการเข้ามารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความแออัดของผู้รับบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนแพทย์และพยาบาลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้รับบริการ ปัญหาพื้นที่บริการของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่เพียงพอ ปัญหาการติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการ ส่งผลให้เกิดความ
ล่าช้าในการบริการพยาบาล ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ นำไปสู่ความรุนแรงในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จากสถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อบุคลากรทีมสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่
(1) ความรุนแรงทางด้านร่างกาย ส่งผลให้บุคลากรทีมสุขภาพบาดเจ็บหรือเสียชีวิต (2) ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่นความรู้สึกโกรธ หรือความตึงเครียด และ (3) ความรุนแรงด้านทรัพย์สิน ส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เสียหาย จากแนวคิด Personnel Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018 มีเป้าหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุม ทั้งความปลอดภัยของผู้รับบริการ และความปลอดภัยของบุคลากรทีมสุขภาพ (Patient and Personnel Safety หรือ 2P Safety) พ.ศ. 2561-2564 ตรงกับเป้าหมายของ E:Environment and Working Conditions (E3: Workplace Violence ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน) โดยมีแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างปลอดภัย คือ การจัดระบบรักษาความปลอดภัยของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และการจัดการระบบการปฏิบัติงานของพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปวางแผนแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุ
และฉุกเฉินอย่างปลอดภัย รวมทั้งสามารถรับมือได้กับสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

อนุศร การะเกษ, สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์, วรรณชาติ ตาเลิศ, สนอง ประนม. การลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 102-12.

วิจัย บุญญานุสิทธิ์, และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการสิ่งผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.

พงษ์ลัดดา ปาระลี, ชัจคเณค์ แพรขาว. ปัจจัยทำนายการเกิดความแออัดที่ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563; 40(2): 52-65.

วิทยา โพธิ์หลวง. ประสบการณ์การสร้างความปลอดภัยให้ผู้ป่วยในระบบปฏิบัติการฉุกเฉินภายนอกโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560; 19(2): 52-6.

กฤษณา สังขมุณีจินดา, รุ่งนภา จันทรา, พรรษา หวานบุญ, จารุวัฒน์ สำลีพันธ์. (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการความรุนแรง ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2564.

ทรงวุฒิ สังข์บุญ. การจัดการความเสี่ยงความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล 2562; 34(1): 14-24.

World Health Organization. (2023). Systematic review and meta-analysis of verbal and physical violence against healthcare workers in the Eastern Mediterranean region [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 19]. Available from: https://www.emro.who.int/emhj-volume-29-2023/volume-29-issue-10/systematic-review-and-meta-analysis-of-verbal-and-physical-violence-against-healthcare-workers-in-the-eastern-mediterranean-region.html

จินตนา สุวิทวัส. ความรุนแรงในโรงพยาบาล: การป้องกันและคุ้มครองสิทธิของบุคลากรทางการแพทย์.

ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(1): 93-96.

ธวัช ลาพินี. นโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ปี 2566. สงขลา: โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา; 2566.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน. นนทบุรี: กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Bhangu A, Notario L, Pinto RL, Pannell D, Thomas-Boaz W, Freedman C, et al. Closed loop communication in the trauma bay: identifying opportunities for team performance improvement through a video review analysis. CJEM 2022; 24(4): 419-25. doi: 10.1007/s43678-022-00295-z.

ศันยวิทย์ พึงประเสริฐ. แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2561

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิง; 2563.

กิติพงษ์ จันทรพล, นงนุช บุญยัง, ปราโมทย์ ทองสุข. (2563). ความเสี่ยงของบุคลากรและการจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; (7)1: 240-53.

รัฐพล ยอดขุดดี. การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564. 337 หน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29