การสังเคราะห์งานวิจัยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560-2566

ผู้แต่ง

  • สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • ธีระ ศิริสมุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย, การแพทย์ฉุกเฉิน, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่บริหารจัดการโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณา โดยการเก็บข้อมูลงานวิจัยของ สพฉ. ปีงบประมาณ 2560-2566 จำนวน 57 เรื่อง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านข้อมูลพื้นฐานทั่วไป งบประมาณส่วนใหญ่ได้รับจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ร้อยละ 57.9) เป็นการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ร้อยละ 77.2 โดยจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ถูกเลือกเป็นพื้นทำการศึกษามากที่สุด กลุ่มอาการนำที่มีการศึกษามากที่สุด คือ กลุ่มอาการนำที่ 6 (หัวใจหยุดเต้น) (ร้อยละ 50.0) กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีการศึกษามากที่สุด คือ ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 56.0) (2) ด้านผลผลิตจากงานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการพัฒนาระบบบริการ (ร้อยละ 36.8) รองลงมา คือ องค์ความรู้ (ร้อยละ 35.1) (3) ด้านประเด็นงานวิจัยตามกรอบระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในประเด็นการดูแล ณ จุดเกิดเหตุ (ร้อยละ 61.0) รองลงมาคือ การป้องกันการเกิดเหตุ (ร้อยละ 7.3) การดูแลรักษาในโรงพยาบาล (ร้อยละ 4.9) และการจัดระบบบริบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุหมู่ (ร้อยละ 2.4) แต่ไม่มีงานวิจัยในประเด็น ระบบการส่งต่อ และมีงานวิจัยร้อยละ 47.8 ที่มีการศึกษาครอบคลุมมากกว่า 1 ประเด็น (4) ด้านประเด็นงานวิจัยตามกรอบระบบสขุภาพ ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านระบบบริการ (ร้อยละ 54.4) รองลงมาคือ เทคโนโลยี เครื่องมือ และยา (ร้อยละ 38.6) การจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 3.5) กำลังคน และการเงินการคลัง เท่ากันที่ร้อยละ 1.8 แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประเด็นด้านธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของเครือข่าย

References

กัญญา วังศรี. การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. Srinagarind Medical Journal 2556;28(4):69-73.

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินฉบับที่ 4 พ.ศ.2566-2570 (แผนปฏิบัติการ). นนทบุรี 2566.

ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, และอุมาวดี เหลาทอง. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสาหรับผู้สูงอายุ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สามชัย 2017; 2561.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010

พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 57 ก (ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2562).

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. คู่มือสำหรับหน่วยรับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมสิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2563-2565. กรุงเทพฯ: ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง; 2563.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ความหวังใหม่เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567]. แหล่งข้อมูล http://www.parliament.go.th/library.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การศึกษาความชุก อุบัติการณ์ และสาเหตุของการตายและความพิการ จากการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2563. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ; 2565.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ สิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ประชุมพร กวีกรณ์, และคณะ. การพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) แบบบูรณาการ ในเขตสุขภาพที่ 10. อุบลราชธานี: เขตสุขภาพที่ 10; 2565.

มติชนออนไลน์. สธ.เห็นชอบแนวทาง SMI-V ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดเสี่ยงก่อความรุนแรง นำร่อง 30 จว. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567]. แหล่งข้อมูล https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3766987.

Martin-Gill C, Reiser RC. Risk factors for 72-hour admission to the ED. The American journal of emergency medicine. 2004;22(6):448-53.

กล่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2561.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์; 2558.

Calvello EJ, Broccoli M, Risko N, Theodosis C, Totten VY, Radeos MS, et al. Emergency care and health systems: consensus‐based recommendations and future research priorities. Academic Emergency Medicine. 2013;20(12):1278-88.

Razzak JA, Kellermann AL. Emergency medical care in developing countries: is it worthwhile? Bulletin of the World Health Organization. 2002;80(11):900-5.

วิทูรย์ อนันกุล. แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขพ.ศ. 2563 – 2565. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29