ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ พฤทธยานันต์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วชิราภรณ์ ชาติครบุรี โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • ศิริพร รัตนสาคร โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปัจจัยที่คัดสรร, ผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่คัดสรรที่ประกอบด้วย ความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 และแรงสนับสนุนทางสังคม ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย ช่วงสถานการณ์ระบาดโรคควิด 19 ปัจจัยที่ศึกษาได้จากการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งงานวิจัยที่ศึกษาสืบค้นจากรายงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ และไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 โดยทำการคัดกรองงานวิจัยตามข้อกำหนดที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเองและประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ นำข้อมูลจากงานวิจัยรวบรวมมาสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามวิธีการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 (prevention behavior) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 (knowledge) ทัศนคติเกี่ยวกับโควิด 19 (attitude) แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด19 (protection motivation) และแรงสนับสนุนทางสังคม (social support) ผลที่ได้จากการศึกษาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในประเทศไทย ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการพัฒนาโปรแกรมหรือแนวทางในการส่งเสริมกลุ่มผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์สาธารณภัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออื่นๆ ต่อไป

References

พนิดา สังวาลย์. การจัดการภัยพิบัติโรคระบาดโควิด-19 ของเขตเทศบาลนครมอสโก ประเทศรัสเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic: World Health Organization [internet]. 2020 [cite 2022 Dec 03]. Available from: https://www.euro.who.int/en/health-topics/health-emergencies/coronavirus-covid-19/novel-coronavirus-2019-ncov.

Liu CH, Tsai MJ, Hsu CF, Tsai CH, Su YS, Cai DC. The Influence of the COVID-19 Pandemic on Emergency Medical Services to Out-of-Hospital Cardiac Arrests in a Low-Incidence Urban City: An Observational Epidemiological Analysis. Int J Environ Res Public Health. 2023;20(3).

พรวิภา กุลรัตน์, ศราวัณ พอกเพิ่มดี, เสาวลักษณ์ บุญจันทร์, ศิริศักดิ์ นามพรม, รัตนาวดี ภูมะลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสาร การ แพทย์ โรง พยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566;38(2):463-73.

Šuriņa S, Martinsone K, Perepjolkina V, Kolesnikova J, Vainik U, Ruža A, et al. Factors Related to COVID-19 Preventive Behaviors: A Structural Equation Model. Front Psychol. 2021;12:676521.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 14 ต.ค. 2566] แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2021/EBook/414441_20211229135756.pdf.

Chan A. Study Reveals the Risk of COVID-19 Infection Among Health Care Workers: Massachusetts General Hospital [internet]. 2020 [cite 2023 Jan 11]. Available from: https://www.massgeneral.org/news/coronavirus/study-reveals-risk-of-covid-19-infection-among-health-care-workers.

Pan American Health O, Pan American Health O. COVID-19 Recommendations: Prehospital Emergency Medical Services (EMS). Draft document, Version 4.4 (27 March 2020). Washington, D.C.: PAHO; 2020.

Park YJ, Song KJ, Hong KJ, Park JH, Kim TH, Kim YS, et al. The Impact of the COVID-19 Outbreak on Emergency Medical Service: An Analysis of Patient Transportations and Time Intervals. J Korean Med Sci. 2023;38(42):e317.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2020/EBook/49797_20200330195034.pdf

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาสาธารณสุขชุมชน. 2564;14:25.

พัสกร องอาจ, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัส

โควิด-19: กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2564;7(1):85-100.

จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสาริชาการ สคร 9 ปี. 2564;27(2):5-14.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีอิทธิลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(12):361-75.

บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(37):179-95.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

นิธิศ จินดารัตน์, ปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของชุมชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ โครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2562:1-15.

Kongart, C., Yoochadchawal, P., & Utum, S. (2021). Herbal Utilization in Postpartum Midwifery From 1994 to 2021: An Analysis of Systematic Reviews. JOURNAL OF SAKON NAKHON HOSPITAL, 24(3), 77-86.

Joanna Briggs Institute. (2020). Joanna Briggs Institute reviewers’ manual 2020. Retrieved March 26, 2023, from https://jbi.global/critical-appraisal-tools

Kummatid, A., & markrat, M. (2016). Using the Systematic Review to Provide a Complete Summary on a Research Question in Evidence-Based Practice: A 3-Step Method. THE SOUTHERN COLLEGE NETWORK JOURNAL OF NURSING AND PUBLIC HEALTH, 3(3), 246-259.

Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. Journal of the American Dietetic Association. 1975;66(1):28-31.

Rogers RW. A protection motivation theory of fear appeals and attitude change1. The journal of psychology. 1975;91(1):93-114.

House JS. Work stress and social support. Reading, Mass.: Addison-Wesley Pub. Co. [internet]. 1981 [cite 2023 Jan 11]. Available from: http://books.google.com/books?id=qO2RAAAAIAAJ.

มินทร์รตา ศุภานิชไชยศิริ. ระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

สุทธิลักษณ์ ลาภสมบุญกมล. ระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

Arslanca T, Fidan C, Daggez M, Dursun P. Knowledge, preventive behaviors and risk perception of the COVID-19 pandemic: A cross-sectional study in Turkish health care workers. PLOS ONE. 2021;16(4):e0250017.

พิภพ จันทร์เหมือน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขของสถานบริการ สาธารณสุขเครือข่ายโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ. 2566;8(1):98-108.

Papagiannis D, Malli F, Raptis DG, Papathanasiou IV, Fradelos EC, Daniil Z, et al. Assessment of knowledge, attitudes, and practices towards new coronavirus (SARS-CoV-2) of health care professionals in Greece before the Outbreak Period. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020;17(14):4925.

Latif R, Rafique N, Al Asoom L, Alsunni AA, Salem AM, Al Ghamdi K, et al. Factors Affecting Health Care Professionals' Adherence to COVID-19 Precautionary Measures. J Multidiscip Healthc. 2022;15:2121-8.

ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

อิสรีย์ ปัญญาวรรณ, จิตถนอม สังขนันท์, นงลักษณ์ อินตา. ทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565;18(1):1-15.

Pratumwan P, Vatanasomboon P, Pekalee A. Applying the Protection Motivation Theory in Predicting Motivation for COVID-19 Preventive Behaviors among Thai People in Health Region 3. Thai Journal of Public Health. 2022;52(3).

.Bashirian S, Jenabi E, Khazaei S, Barati M, Karimi-Shahanjarini A, Zareian S, et al. Factors associated with preventive behaviours of COVID-19 among hospital staff in Iran in 2020: an application of the Protection Motivation Theory. Journal of Hospital Infection. 2020;105(3):430-3.

Khani Jeihooni A, Esmaeilifar Z, Badehian Z, Khaleghi A, Ziapour A, Yari A. COVID-19 Preventive Behaviors in Pre-hospital Emergency Personnel: Application of Protection Motivation Theory. 2021.

พรทิวา คงคุณ, ระวิ แก้วสุกใส, รังสฤษฎ์ แวดือราแม, บุญยิ่ง ทองคุปต์, มูฮัมหมัดไซด์ ซาและ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้จำหน่ายอาหาร จัวหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564;8(3):133-46.

จุไรรัตน์ ดาทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

Alrazeeni D. Knowledge, attitude, and practice toward COVID-19 among paramedics in Saudi Arabia: Implications for educational program. International Journal of Advanced and Applied Sciences. 2021;8:71-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29