ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการรับบริการผู้ป่วยระดับวิกฤตในห้องฉุกเฉินนานกว่า 2 ชั่วโมง ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • กิตติมา โพธิปัตชา กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.4

คำสำคัญ:

ระยะเวลาการรับบริการ, แผนกฉุกเฉิน, ผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินส่งผลให้ผู้เข้ารับบริการต้องใช้เวลาในการรอรับบริการนานขึ้น และอาจเกิดปัญหาความแออัดในห้องฉุกเฉินตามมาได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยวิกฤตมีระยะเวลา การรับบริการในห้องฉุกเฉินนานกว่า 2 ชั่วโมงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลัง รูปแบบ cohort ข้อมูลได้จากการตรวจสอบบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทำการเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มที่มีระยะเวลาเข้ารับบริการ น้อยกว่า 2 ชั่วโมง จำนวน 383 คน และกลุ่มที่มีระยะเวลาเข้ารับบริการมากกว่า 2 ชั่วโมง จำนวน 390 คน เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์ทำให้ใช้ระยะเวลาเข้ารับบริการมากกว่าสองชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ exact probability test, t-test, ค่ามัธยฐาน IQR และ multivariable risk regression analysis ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการเข้ารับบริการที่มากกว่า 2 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมทั่วไป (RR=1.89, 95% CI=1.50–2.37, p<0.001) การปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมกระดูก (RR= 1.50, 95%CI=1.11–2.02, p=0.008) และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (RR=1.29, 95%CI=1.05–1.60, p=0.017) ในขณะที่การรับผู้ป่วยรักษาต่อในแผนกผู้ป่วยใน (RR=0.57, 95%CI=0.38–0.85, p=0.005) และการรับผู้ป่วยรักษาต่อที่ห้องสังเกตอาการ (RR=0.55, 95%CI=0.33–0.89, p=0.017) เป็นปัจจัยป้องกันในการศึกษานี้ ดังนั้น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการรับบริการของผู้ป่วยวิกฤตในห้องฉุกเฉินนานกว่า 2 ชั่วโมง คือ การปรึกษาแพทย์แผนกศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมกระดูก และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

References

Eitel DR, Rudkin SE, Malvehy MA, Killeen JP, Pines JM. Improving service quality by understanding emergency department flow: A white paper and position statement prepared for the American Academy of Emergency Medicine. J Emerg Med 2010;38:70–9.

Derlet RW, Richards JR. Overcrowding in the nation’s emergency departments: complex causes and disturbing effects. Ann Emerg Med 2000;35:63–8.

Sprivulis PC, Da Silva JA, Jacobs IG, Frazer AR, Jelinek GA. The association between hospital overcrowding and mortality among patients admitted via Western Australian emergency departments. Med J Aust 2006;184:208–12.

McCaig LF, Nawar EW. National Hospital Ambulatory Medical Care Survey: 2004 emergency department summary. Adv Data 2006;3;(372):1-29.

Eversley J. The history of NHS charges. Contemporary British History 2001;15:53–75.

Wibulpolprasert A, Sittichanbuncha Y, Sricharoen P, Borwornsrisuk S, Sawanyawisuth K. Factors associated with overcrowded emergency rooms in Thailand: a medical school setting. Emerg Med Int 2014;2014:1–4.

Ienghong K. Factors affecting length of stay more than 4 hours in the emergency department of Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J 2014;29:7–13.

Imsuwan A. Factor associated with length of stay more than 4 hours at the Emergency Department of Thammasat University Hospital. TMJ 2015;15:39–49.

Thongphan T. Factors related with length of stay more than 8 hours at the Emergency Department of Bhumibol Adulyadej Hospital. CEDM Journal 2018;1:32–9.

R6KPI: KPI Dashboard อัตราของผู้ป่ วย triage level 1, 2 อยู่ในห้องฉุกเฉิน < 2 ชม. ในโรงพยาบาลระดับ A, S, M1 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ต. 2564]. แหล่งข้อมูล:http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=1521

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. ER CRH. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ปี 2563 (Chiangrai Prachanukroh Hospital Triage) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://49.231.15.21/deptweb/cDownload.php/?DL_ID=867&DL_NAME=ERF 256404070709307482.pdf

Yoon P, Steiner I, Reinhardt G. Analysis of factors influencing length of stay in the emergency department. CJEM 2003;5:155–61.

Kusumawati HI, Magarey J, Rasmussen P. Analysis of factors influencing length of stay in the Emergency Department in Public Hospital, Yogyakarta, Indonesia. Australas Emerg Care 2019;22:174–9.

Ye L, Zhou G, He X, Shen W, Gan J, Zhang M. Prolonged length of stay in the emergency department in high-acuity patients at a Chinese tertiary hospital. Emerg Med Australas 2012;24:634–40.

Juss I. Factors influencing length of stay in the emergency department in a private hospital in North Jakarta [Internet]. 2008 [cited 2021 Nov 26]. Available from: https://univmed.org/ejurnal/index.php/medicina/article/view/286

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19